อ้างว่า ลงทุนหลายพันหลายหมื่นล้าน แต่มักง่ายประมาท ขาดความรับผิดชอบ พร้อมดันทุรังโครงการเสี่ยง - ขบวนการยุติธรรมล่าช้า ... อย่าคิดว่า ! เรื่องจะจบ เพราะไม่มีม๊อบ!
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 มกราคมนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)จะเสนอร่างประกาศควบคุมสารอินทรีย์ระเหย VOCs จากอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมให้รมว.อุตสาหกรรมลงนาม ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ โดยที่ผ่านมาพบว่าสารVOCs ที่ประกอบด้วยเบนซีน ,1-3 บิวทาไดอีน และ1-2 ไดโคลโรอีเทน ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพด มีการปล่อยออกมาเกินค่ามาตรการบางช่วงเวลา และจากการสำรวจพบว่ามี 36 โรงงานในมาบตาพุดที่เข้าข่ายใช้วัตถุดิบและการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสารดัง กล่าว คาดภายในสัปดาห์หน้าจะมีการหารือกันเพื่อหาแนวทางควบคุมต่อไป
ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะนำมาใช้เป็นระเบียบ และเกณฑ์ในการไปตรวจโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ หากโรงงานใดมีสารดังกล่าวรั่วซึมมากกว่ามาตรฐานที่กำหนด จะต้องทำการซ่อมบำรุง ภายในระยะเวลาที่กำหนด และหากยังไม่ดำเนินการตามกรมโรงงานฯ ก็มีอำนาจที่จะใช้พ.ร.บ.กรมโรงงานมาตรา 37 และ 39 ในการสั่งหยุดกิจการชั่วคราว
ขณะที่ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 21มกราคมที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของโครงการที่จัดอยู่ในประเภทกิจการรุนแรง 2 แห่ง ได้แก่โครงการของ บริษัทเก็คโค่ - วัน และ บริษัททีโอซี ไกลคอล โรงงานทั้ง 2 อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการทำตามมาตรา 67 วรรค 2 โดยโรงไฟฟ้าเก็คโค่ - วัน เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีกำลังการผลิตเกิน 100 เมกกะวัตต์ ยังมีความกังวลเรื่องการปล่อยน้ำลงสู่ทะเล ขณะที่โรงงานทีโอซี ไกลคอล ซึ่งเป็นโรงงานปิโตรเคมีขั้นกลาง เป็นห่วงเรื่องการปล่อยมลพิษออกสู่อากาศ
ด้านนายวีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โรงงานเอทธิลีนไกลคอล ส่วนขยาย ของบริษัทได้ลงทุนไปราว 1,500 ล้านบาท กำลังผลิต 100,000 ตันต่อปี และก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปลายปี 2551 แต่โดนระงับกิจการ อย่างไรก็ดีขณะนี้ได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่จากการหยุดดำเนินการนานกว่า 2 ปี ทำให้สูญเสียรายได้แล้วกว่า 5,000 ล้านบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น