วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ปตท.รัฐวิสาหกิจ สร้างทำ โรงงานวัตถุอันตราย และสารไวไฟ ต่ำกว่ามาตรฐาน คอร์รัปชั่น หรือประมาทมักง่าย ทิ้งภัยเสี่ยงให้ชุมชน ประชาชน ประเทศชาติ


โปสเตอร์ โรงแยกก๊าซเสี่ยงสร้างภัยหายนะ
อันตรายร้ายแรง กับรูปตัวอย่างภัย ที่ซาน ฮัวนิโก ที่ชาวบ้านตายสูญหายนับพัน
บาดเจ็บนับหมื่น บ้านเรือนร้านโรงถูกเผาวอดวาย ค่อนเมือง
ถูก พรบ.ควบคุมอาคาร ปี 2522 ผิด พรบ.โรงงาน ปี 2535
เพราะไม่ใช่เรื่องสร้างทำได้มาตรฐานของโรงงานวัตถุอันตราย - สารไวไฟ
ความเสี่ยงภัยของคนมาบตาพุด
สภาวะส่งเสริมให้เกิดความเสียหาย ไม่ใช่ผลกระทบหรือ
แบบก่อสร้างโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. ที่ไร้มาตรฐาน-ข้อกำหนดงานดิน
แบบก่อสร้างโรงงานติดกับโรงแยกก๊าซใหม่ ที่ทำไม ต้องตอกเสาเข็มจำนวนมาก
ฟ้องแบบไหน ทำไมโรงงานติดกัน ดินแข็งน้อยกว่าถึง 6 เท่า

โรงงานระเบิด เกิดยากส์ แต่ทำไมเป็นข่าวเฉลี่ย มากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
หลักฐานใหม่ไม่ได้ใหม่อะไร เมื่อหลักฐานเก่าไม่อ่านไม่ดู
สิ่งที่ยังไม่ได้อ่านยังไม่ได้ดู...ย่อมถือว่าใหม่ทั้งสิ้น

อยู่ติดตลาด อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน ที่มีโรงงานวัตถุอันตราย และสารไวไฟ รายล้อมอยู่จำนวนมาก
พนง.เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐ ปล่อยปละละเลย ให้มีการสร้างทำ โรงงานวัตถุอันตราย เสี่ยงทรุดพัง อยู่ใกล้ตลาด อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน...ผิดมั้ย กม. ใครบอกได้บ้างไม่ตอกเสาเข็มทั้งโรงงานมันปลอดภัยดีหรือ
- ไม่ใช่แค่ปัญหาป้ายโฆษณาเสี่ยง เพราะล้มพัง สร้างปัญหาทั้งตำบล
พรบ. โรงงาน ปี 2535 อาคารโรงงาน ต้องสร้างทำให้ “มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม” ซึ่ง กม.ไม่ได้ระบุว่า ต้องสร้างตาม พรบ.ควบคุมอาคาร เพราะ มาตรฐานของอุตสาหกรรมต่างๆนั้น ต้องการความมั่นคงแข็งแรง ของโครงสร้างต่างกัน ในการสร้างอาคารส่วนผลิต หรือส่วนเก็บกัก ของอุตสากรรมพลังงาน น้ำมันและก๊าซ ซึ่งกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้ ให้ทรุดได้น้อยมาก 5-15 มิลลิเมตร (0.5-1.5 เซนติเมตร) เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อกำหนดของ ปตท. หรือเทียบเท่า มาตรฐานสากลทั่วไป หรือเทียบกับความหนาของตลับยาหม่อง เสมือนไม่ยอมให้ทรุดได้เลยนั้น...แล้วทำไม ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด อายุใช้งาน 30-40 ปี จะทรุดพังปีไหน และถ้าในฤดูฝนนี้ล่ะ ทันการณ์ ทันเวลาหรือไม่ แก้ปัญหา ด้วยหลักวิชาหลักเหตุผล เกิดเหตุภัยร้ายแรง กระทบความมั่นคงของชาติ ๐
ฐานรากที่ไม่ยอมให้ทรุดได้เลยนั้น มาจากเหตุผลที่ว่า “การคำนวณในส่วนของ ระบบท่อก๊าซเหลวที่โยงใยกันยั้วเยี้ยนั้น ประกอบด้วยข้อต่อ จำนวนมาก ประกอบด้วยวาล์วต่างๆ วาล์วควบคุม วาล์วตรวจสอบ วาล์วลดเพิ่มความดัน ความดันของก๊าซเหลวในท่อ อุณหภูมิที่แตกต่าง-เพิ่มลด มีทั้งร้อนจัด ทั้งเย็นจัด แรงดึง แรงสั่น แรงการจากไหล ศึกษาเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลซึ่งนั่นหมายถึงความเสียหาย ที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้ระเบิดได้ หรือแพร่กระจายสารพิษที่เป็นอันตรายเฉียบพลันได้” การทรุดของฐานยึดต่างๆ ทำให้เกิดแรงเฉือนแรงบิดโมเมนต์มหาศาล ซึ่งแรงต่างๆ นี้ คำนวณไม่ได้ ไม่มีขนาดที่ชัดเจน ดังนั้น มาตรฐานในการสร้างทำ โรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงาน จึงถูกกำหนดให้การทรุดตัวที่ยอมจะเกิดขึ้นน้อยมาก เสมือนหนึ่งว่าไม่ยอมให้ทรุดได้เลย ซึ่งตรงนี้ เป็นเหตุผลว่า ทำไม พรบ.โรงงาน จึงไม่ได้บอกว่า “การสร้างทำอาคาร ให้อิง พรบ.ควบคุมอาคาร ปี 2522” เพราะต้องสร้างทำให้เหมาะสม กับความต้องการตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้ ใน พรบ.ควบคุมอาคาร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ระบุให้ใช้ทั่วไป
การทรุดเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ - ระหว่างที่ทำการติดตั้งเครื่องจักร ในโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. มีการทรุด และรื้อซ่อมใหม่ มากกว่า 10 จุด และก่อนที่จะมีการทดสอบระบบ มีการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า มีการทรุดตัวต่างกันเกินค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้ คือ 5มิลลิเมตรไปแล้ว ในหลายจุด จากรายงานการทดสอบ เพียง 20 ฐานราก จากทั้งหมดมากกว่า 2,000 ฐานราก เมื่อ เดือนมกราคม 2553
การประเมินอันตรายร้ายแรง
เมื่อไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด และมีข้อกำหนดความทรุดตัวต่างกันน้อยมาก 0.5-1.5 ซม.เท่านั้น ที่จะไม่กระทบกับท่อและข้อต่อต่างๆ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะทำให้เกิดก๊าซแตกรั่วได้ โอกาสเกิดการรั่วไหลรุนแรงจึงมีโอกาสสูงมาก เพราะการไม่ตอกเสาเข็มทั้งโรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ดังนั้นที่ทำการศึกษาประเมินบ่งชี้ความเสี่ยง การศึกษา HAZOP ที่ไม่ได้อ้างอิงการทรุดของฐานรากต่างๆ เอาไว้ด้วย วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ย่อมอยู่ในความไม่แข็งแรง ทั้งระบบ
เมื่อมีการเสี่ยงทรุดของฐานราก 2-3 พันตัว ไม่ใช่เรื่องสภาวะแวดล้อมกลไกภายนอก หรือจากเหตุไม่คาดฝัน จากพายุร้อยปี แผ่นดินไหวอะไรนั่น แล้วทำไมต้องปล่อยให้มีความเสี่ยงมหาศาล กับ พนง.ปตท. เอง กับประชาชนชาวบ้าน ประเทศชาติ ...กรมโรงงาน และผู้เกี่ยวข้อง ต้องให้ ปตท. ประเมินความเสี่ยงของทุกโรงงานใหม่ทั้งหมด และทำการซ่อมสร้างใ้ห้เป็นไปตาม "มาตรฐานสากล" ของ ท่อ-ข้อต่อ-วาล์ว และวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ
อันตรายและความรุนแรง จาก ตารางรัศมีการได้รับผลกระทบ กับแผนที่ จะพบว่า
ในรายงาน ปิดความจริงในส่วนของผลกระทบพื้นที่ครอบคลุมทั้งตลาด และหลายชุมชน
ระยะ 600 ม. รัศมีเหตุรุนแรง  ผลกระทบต่อคน ซึ่งคน 100% ตายภายใน 1 นาที
ที่ระยะ 600 ม. รัศมีเหตุรุนแรง  ส่งผลกระทบต่อคน คน 100% ตายภายใน 1 นาที
โอกาสในการระเบิด 6 ใน 1,000,000,000 ซึ่งยากมาก แต่การสร้างทำโดยไม่มั่นคงแข็ง แรง ฝนตกหนัก พายุลมแรง จะล้มพังสร้างภัยหรือไม่ โอกาสการเกิดมาจากสถิติในหนังสือนั้น เชื่อถือได้แค่ไหนก้อในเมื่อเมืองไทย เดือน 2 ครั้ง วันที่ 5-5-55 โรงงาน บีเอสที มาบตาพุดระเบิด และ วันที่ 4-7-55 โรงกลั่นบางจากระเบิด...และจะเมื่อไหร่ที่ไหนอีก

โอกาสเกิดการรั่วไหลของโปรเพน / LPG เท่ากับ 6 ในล้าน ครั้ง/ปี (เชื่อได้หรือ ทำรั่วไหลกันประจำ)

โอกาสเกิดการรั่วไหลของกาซโซลีนธรรมชาติ เท่ากับ 2 ในแสน ครั้ง/ปี (เชื่อได้หรือ ทำรั่วไหลกันประจำ)
* ระดับความรอน  - ผลกระทบตออุปกรณ  ผลกระทบตอคน *
ในรัศมี 2 กิโลเมตร ครอบคลุม ชุมชน และโรงงานอื่นๆจำนวนมาก จะมีคน 1 % ตายภายใน 1นาที ที่เหลือ 99 % หมายถึง การตาย หรือบาดเจ็บ ไม่ใช่ถูกประเมินว่า จะตายแค่ 1 % ที่เกิดขึ้นที่เม็กซิโก ตายหลายร้อยคน บาดเจ็บหลายหมื่น บาดเจ็บสาหัสหลายพันคน บ้านเรือนถูกเผาวอดวาย ตรงนั้นมีเพียง 1 ใน 7 ของคลังก๊าซ ปตท. เสี่ยง และตรงนี้คือ อันตรายที่ยังไม่รวมถึงอันตรายจากแรงอัดของระเบิด แค่กรณี LPG BLEVE 1 ถัง ใน 12 ถัง ขนาดใหญ่


 
 ที่อ้างว่า มีฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา แล้วมีมาตรฐานสูงจึงไม่เป็นความจริง
เกิดเหตุภัยแล้ว ประชาชนชาวบ้านตื่นกลัว แม้ไม่เจ็บตาย
คนอยู่รอบโรงงานเสี่ยงภัย ไม่ใช่ผู้มีผลกระทบหรือ ที่ทำไมคน กทม. อยากให้รื้อโรงกลั่นบางจาก
อ้างมีต่างชาติมาสร้างทำ จ้างฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา จึงมีมาตรฐานสูงระดับโลก ทั้งที่แบบก่อสร้างทั้งหมด ไม่มีข้อมูลกำหนด ว่าดินต้องบดอัดให้แข็งแรงแค่ไหนอย่างไร แล้วจะสร้างทำได้แบบไหน ให้ดินรับแรงได้ตรง กับการออกแบบ ศาลปกครอง อ้างว่า ไม่ผิด กม. แล้วถูก กม. แบบไหนที่โรงงานวัตถุอันตราย สร้างทำกันแบบนี้
 
แบบก่อสร้าง - โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท.
ซึ่งแบบของโรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน
ลักษณะคล้ายคลึงกัน ผู้รับเหมาหลักเดียวกัน 
เวลาการก่อสร้างช่วงเดียวกัน งานฐานรากต่างๆ มิ.ย.51-พ.ย.51 ระยะเวลา 5.5 เดือน
ฐานรากทั้งหมด เป็นฐานรากตื้นไม่มีเสาเข็ม
ในส่วนโครงสร้างรับระบบท่อเป็นฐานรากหล่อสำเร็จ
แต่โรงแยกก๊าซอีเทน ขออนุมัติโครงการก่อน จึงไม่ได้ถูกระงับ
(แบบที่ใช้ในการก่อสร้าง ทั้งหมดจะไม่มีการลงนามอนุมัติ ต่างกับแบบก่อสร้างในระบบราชการ)
สังเกตุด้านขวาของแบบซึ่งระบุชนิดและความแข็งแรงของคอนกรีตและเหล็กเสริม
แต่ไม่มีการระบุความแข็งแรงหรือความหนาแน่นของดิน
เพราะชนิดและความแข็งแรงของวัสดุเป็นการกำนดจากการออกแบบฐานราก
(วัสดุเกี่ยวข้องกับงานฐานราก - ความแข็งแรงของดินหรือเสาเข็ม, คอนกรีต และเหล็กเสริม)
แบบฐานราก-ถังเก็บสารเคมีเหลว
แบบฐานราก-ถังเก็บก๊าซทรงกลม ขนาด 6,000 3
แบบฐานราก-หอต้ม/หอความดัน ความสูง 40-50 ม. (ลดหลั่น)
แบบฐานราก-โครงสร้างรับระบบท่อ ความสูง 21-24 ม.
แบบโครงสร้างรับท่อ
ค่ากำหนดมาตรฐานการทรุดตัวที่ยอมรับได้ ในการออกแบบก่อสร้างฐานรากคอนกรีตและพื้นคอนกรีต โดยกำหนดค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้น้อยมาก เพียง 5-15 มม. หรือ 0.5-1.5 ซม. หรือหนาเท่าฝายาหม่องตราลิงถือลูกท้อ สำหรับการทรุดตัวทั้งหมด และค่าทรุดตัวต่างกัน ถ้านึกไม่ออกว่า การทรุดตัวต่างกันเป็นแบบไหน ให้นึกถึงถังซักผ้า ตอนที่ฐานถังวางเอียง ถังจะสั่นแรงมากมีเสียงดังมาก จนบางครั้งเครื่องอาจหยุดทำงาน เพราะมอเตอร์ ร้อนจัด - การทรุดตัวไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดแรงบิดมหาศาล กรณีที่มีระยะห่างน้อยและมีการทรุดตัวมาก ท่ออาจบิดตัวจนฉีก หรือข้อต่อต่างๆ หลุดหลวม เยื้องศูนย์ ซึ่งการระงับเหตุทำได้ยากยิ่ง กรณีที่รั่วบริเวณข้อต่อหรือวาล์วควบคุม ในกรณีที่ท่อน้ำแตกรั่วไหลยังต้องใช้เวลานานในการซ่อม น้ำยังเจิ่งนองไปทั่ว แต่ถ้าลองนึกถึงก๊าซไวไฟรั่ว หรือท่อส่งก๊าซอันตรายรั่วแบบควบคุมยาก จึงเป็นที่มาว่า มันจะเกิดเหตุไฟไหม้ และระเบิดอย่างไร


 







แค่ทรุด ... ทำไมเสี่ยง! ไฟไหม้ระเบิดควบคุมไม่ได้ ดูภาพแล้วลองจินตนาถึงเหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ผนังร้าวปูนแตก ก๊าซแอลพีจีที่รั่วออกมา มีอัตราการขยายตัว 250 เท่า และหนักกว่าอากาศ จะไหลลงสู่ที่ต่ำ สามารถเกิดระเบิดที่จุดที่เกิดการรั่วไหล เพราะจะควบแน่น ปิดบริเวณรูรั่วก่อนที่จะเกิดการระเบิดและติดไฟ ซึ่งเมื่อเป็นกลุ่มไฟ จะขยายตัวจากกีาซอีก 250 เท่า แล้วให้นึกภาพท่อต่างๆ ขนาดใหญ่ คลังก๊าซแอลพีจี ที่มากถึง 4 พันคันรถ
 
คนไทย จะอยู่กันไป แบบนี้หรือ  (ที่สื่อกันในสังคมออนไลน์ กับจิตสาธารณะแบบไทยๆ)
คนไทย เราจะอยู่กันแบบนี้หรือ ประเทศไทยมีกฎหมายมากมายใช้ควบคุมกำกับ มีหน่วยงานเจ้าหน้าที่รัฐก้อมากมาย มีสื่อมวลชนอ้างตัวอ้างตนกันว่าดีก็มีเยอะ มีศาลปกครอง ที่อ้างกันว่า เป็นที่พึ่งพาของประชาชน ตาม รธน.ฯ
๐ หายนะซ้ำซากของประชาชน เกิดเพราะใคร อะไร รูปเชิงประจักษ์นี้ บอกอะไร เราๆท่านๆ จะปล่อยให้บ้านเมืองไทย อยู่กันไปแบบนี้หรือ สึนามิ คราก่อน ล้มตายหลายพัน ก็เพราะไม่สนใจใส่ใจ มาวันนี้ จะรอ บทเรียนชอกช้ำ ให้เกิดซ้ำๆ อีกหรือ...ที่ไม่ใช่แค่ ชาวบ้านมาบตาพุด บาดเจ็บล้มตาย ประเทศชาติส่อแววหายนะเลยนะครับ ถ้าระงับไม่ได้ เอาไม่อยู่ ลองใช้ คำว่า “ถ้า...แล้วอะไรจะเกิดขึ้น”  WHAT-IF วิธีง่ายๆใช้ประเมินบ่งชี้อันตราย กับ คลังก๊าซแอลพีจี 4 พันคันรถ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. ที่ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด โรงกลั่น-โรงไฟฟ้า-โรงงานสารเคมีอันตราย-วัตถุไวไฟ มากมายที่รายล้อม ถ้าลุกลามไหม้ไฟ ระเบิดไปด้วยกัน อะไรมันจะเกิดขึ้น กับประเทศไทยที่รักของเรา !?
 
พรบ. โรงงาน ปี 2535 อาคารโรงงาน ต้องสร้างทำ “ให้มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม
ซึ่ง กม.ไม่ได้ระบุว่า ต้องสร้างตาม พรบ.ควบคุมอาคาร เพราะ มาตรฐานของอุตสาหกรรมต่างๆ
ต้องการความมั่นคงแข็งแรง ของโครงสร้างต่างกัน ในส่วนอาคารส่วนผลิต หรือส่วนเก็บกัก
ของอุตสากรรมพลังงาน น้ำมันและก๊าซ ซึ่งกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้
ให้ทรุดได้น้อยมากเพียง 5-15 มิลลิเมตร หรือ 0.5-1.5 เซนติเมตร เท่านั้น
เป็นข้อกำหนดของ ปตท.ที่เขียนขึ้นเอง หรือเทียบเท่ามาตรฐานสากลทั่วไป
๐ เกิดเหตุแล้ว น้ำตาไม่ช่วยอะไร เทียนไฟ  ดอกไม้ อะไรๆ ไม่ต้องเอามาทำท่าระลึกนึกถึง วันนี้ที่ควรช่วยกันระงับเหตุ แต่ก้อไม่ทำอะไรอย่างไรกัน ช่างมรึง ช่างแมร่ง ช่างมันกันไปหมด แล้วไหนล่ะ ที่บอกว่า “คนไทยไม่ทิ้งกัน” 
กรณีการระเบิดแบบ LPG BLEVE ของ ถังเก็บลูกโลก 4,000 3
ระดับความร้อน 37.5 (kW/m 2 ) - รัศมี 0.6 กม.จากโรงแยกก๊าซที่ 6 ผลกระทบกับคน 100% ตาย ภายใน 1 นาที / 1% ตาย ภายใน 1 วินาที ประชาชนชาวบ้านมากแค่ไหน ในรัศมี 1 กม. ของ โรงแยกก๊าซ ใหม่ ที่ 6 ที่ ตุลาการศาลปกครอง อ้างว่า เสี่ยงตาย 100% แบบนี้ ไม่มีผลกระทบ กับโรงงานเสี่ยงทรุดพัง ที่มีคลังก๊าซไวไฟจำนวนมหาศาล ที่อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน-และโรงงานอื่นๆ จำนวนมาก ฯ
ศาลปกครองที่พึ่งของประชาชน โดยตรงตามรัฐธรรมนูญ ไม่ดูข้อ กม.โดยถี่ถ้วน แต่จะเป็นแค่ นายประกัน ให้ ปตท. หน่วยงานรัฐปล่อยปละละเลย มักง่ายไม่รอบคอบปล่อยให้สร้างทำ โรงงานวัตถุอันตราย ไม่ตอกเสาเข็ม หลายโรงงาน ในมาบตาพุด "มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม และไว้วางใจได้" แค่ไหน กม. พรบ.โรงงาน พรบ.วัตถุอันตราย ปี 2535 มีอยู่ แต่ทำไม่รู้ไม่สนใจ ศาลปกครอง ทำตัวให้ประชาชนพึ่งไม่ได้ กลับทิ้งภัยให้ประชาชนอีก แบบนี้ "ละเว้นการทำหน้าที่โดยสุจริต" หรือไม่!? – เมื่อขบวนการศาลเลือกใช้ช่องโหว่ของ กม. แล้วทิ้งภัยให้ประชาชนชาวบ้าน ๐
  วันที่ ศาลปกครอง รู้สึกสั่นคลอน และมีความเสี่ยง อ้างว่ามีกลุ่มคนจะจ้องรื้อล้ม พวกท่านเรียกร้องให้สื่อ ให้ประชาชนช่วย เพื่อช่วยกันรักษาพวกท่าน องค์กรท่านไว้ อ้างว่า เพื่อเป็นที่พึ่งพาของประชาชน ดำรงความเป็นธรรม ชอบธรรม สร้างความปลอดภัยผาสุกให้สังคม แต่ครั้นเมื่อประชาชนเสี่ยงเจ็บตายตื่นกลัว ท่านกลับบอกว่า “ประชาชน ไม่มีสิทธิ จะกลัวเจ็บกลัวตาย” ทั้งที่เมื่อเกิดเหตุร้ายแรงแล้ว ก็ไม่มีหน่วยงานไหนดูแลประชาชนได้ แม้กระทั่งขบวนการศาลปกครอง ก็ไม่เคยเอ่ยถึงเรื่องที่เกิดขึ้น และยังซ้ำเติมด้วยการทิ้งประชาชนให้เสี่ยงเจ็บตายได้อีก 
* ประชาชนชาวบ้าน ไม่มีที่พึ่งแล้ว จริงๆ หรือ? *
เหตุโรงงาน บีเอสที มาบตาพุดระเบิด เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 55
เกิดเหตุภัยแล้วระงับไม่ได้เอาไม่อยู่ ถ้าไม่มีฝนช่วย ซ้ำร้ายยังปล่อยทิ้งให้ชาวบ้านให้ตาย
ไม่มีสัญญาณเตือนภัย ไม่มีการแจ้งเตือน แจ้งภัย แจ้งให้อพยพ
ทุกฝ่ายอ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่มีใครกล้าสั่ง ถ้าประชาชนเจ็บตายจำนวนมาก ก้อคงแค่โยนกันไปมา
เมื่อสร้างทำกัน ไม่มั่นคงแข็งแรงและไม่เหมาะสม ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด
ทรุดพัง ก๊าซรั่วไฟไหม้ระเบิด ลุกลาม สร้างภัยหายนะ
เป็นเพียงการคาดการณ์ จินตนาการเกินจริง หรือ
คนมาบตาพุดไม่มีสิทธิ์กลัวเจ็บกลัวตาย หรือ ๐
** โอกาสของการเกิดเหตุน้อยมาก มีเพียง 1.2 ในร้อยล้าน ครั้งต่อปี ปีนี้คนไทยได้เห็น 2 ครั้ง **
เหตุโรงกลั่นบางจากระเบิด เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 55
* ผู้ว่า กทม. ใช้ พรบ.ป้องกัน-บรรเทาสาธารณะภัย สั่งรื้อป้ายเสี่ยงที่อนุมัติถูก กม. ... ซึ่งโรงงานเสี่ยงภัย
ใช้ กม.ฉบับเดียวกัน สั่งไล่รื้อได้ เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ถ้าโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.ระเบิด*
* ปตท. อ้างว่ามีต่างชาติมาสร้างทำ จ้างฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา จึงมีมาตรฐานสูง ระดับโลก ทั้งที่แบบก่อสร้าง ทั้งหมด ไม่มีข้อมูลกำหนด ว่าดินต้องบดอัดให้แข็งแรงแค่ไหนอย่างไร แล้วจะสร้างทำได้แบบไหน ให้ดินรับแรงได้ ตรงกับการออกแบบ ศาลปกครอง อ้างว่า ไม่ผิด แล้วถูกแบบไหน โรงงานวัตถุอันตรายสร้างทำกันแบบนี้ *
โครงการ โรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ของ ปตท.
บ.SAMSUNG เป็นผู้รับเหมาหลัก บ.FOSTER WHEELER เป็นวิศวกรที่ปรึกษา บ.อิตาเลี่ยนไทย ผู้รับเหมาย่อยงานฐานราก - กลุ่มผู้ร้องเรียน เป็นวิศวกรโยธา ที่ก่อสร้างฐานรากเสี่ยง กับสำนึกที่จะลบภัยที่จะเกิดแก่สาธารณะ
๐ มองยาก เข้าใจยากแบบไหน หอความดันสูง หอแยกก๊าซ กลั่นก๊าซ
ฐานรากไม่ตอกเสาเข็ม มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม และน่าไว้วางใจหรือ ๐
ป้ายโฆษณาล้มทับคนตาย เป็นเหตุร้ายแรงที่สุดในเรื่องป้ายเสี่ยง กรณีโรงแยกก๊าซใหม่เสี่ยง นั้น...
เหตุร้ายแรงที่สุดคือ คลังก๊าซระเบิด เพราะสร้างทำไม่มั่นคงปลอดภัย เชื่อแค่ไหน เกิดเหตุภัยแล้วจะเอาอยู่ ๐
* เกิดภัยร้ายไม่ใช่แค่ปัญหาป้ายโฆษณาเสี่ยงล้มพัง แต่จะสร้างหายนะภัยให้หลายชุมชน และประเทศชาติด้วย *
 
ประธานเจโทร (กรุงเทพ) เคยหวัง
ว่า นายอภิสิทธิ์ สมัยที่เป็น นายกรัฐมนตรี จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างเหมาะสม แต่นายอภิสิทธิ์ กลับไม่ดำเนินการอะไรเลย ทั้งที่ได้รับ หนังสือร้องเรียนเรื่องนี้ 2 ครั้งกับมือ แต่ไปให้สัมภาษณ์ว่า...จะเร่งรัดจัดทำ สัญญาณเตือนภัย
ข้อมูลอ้างอิง เชิงประจักษ์ ที่ทำไม ต้องตรวจสอบเสริมสร้าง โรงงานจำนวนมาก ของ ปตท. ในมาบตาพุด ที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด มีรายละเอียด ใน http://khonmaptaphut.blogspot.com/2011/06/blog-post.html
แม้ ปตท. ส่งแม่บ้านมาสกัด แต่นายอภิสิทธิ์ ได้รับรู้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว เมื่อ 16 ม.ค.2553
แม้จะรับหนังสืออีกครั้ง เมื่อ 20 พ.ย. 2553 แต่ก็ยังคงเฉย ไม่สั่งการอย่างใด เร่งรัดสัญญาณเตือนภัยซ้ำอีก
21.50 น. วันที่ 11 มิ.ย. 54 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางไปยังสนามกีฬาจังหวัดระยอง เพื่อขึ้นปราศรัยใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ ช่วยผู้สมัคร ส.ส.ภาคตะวันออก โดยมีประชาชน ประมาณ 3,000 คน มารอฟังการปราศรัย ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้ย้ำถึงนโยบายเพื่อประชาชนของพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ แนวทางการแก้ปัญหาของพื้นที่โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตินิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของรัฐบาลที่ผ่านมาที่สามารถหาความสมดุลให้กับภาคอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความปรองดองที่ต้องการอยู่ในทุกวันนี้ ต้องมาดูจากการแก้ปัญหาของมาบตาพุดเป็นตัวอย่าง” -(เกิดภัยแล้ว สัญญาญเตือนภัยไม่ดัง)
*อดีตนายก อภิสิทธิ์  แจงว่า แก้ปัญหามาบตาพุดเบ็ดเสร็จสำเร็จ ... แต่ปล่อยให้ชาวบ้านเสี่ยงตายกันไป *
แบบนี้มั้ย ทำไมบอกว่า "นายกอภิสิทธิ์เลือดเย็น" ทั้งที่ มีอำนาจที่จะสั่งให้มีการตรวจสอบซ่อมสร้าง ตาม พรบ. ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ปี 2550 และ พรบ.ความมั่นคงภายใน ปี 2551 ที่ให้อำนาจเต็มไว้ฯ
จดหมายตอบจาก เจโทร(กรุงเทพ) เรื่องโรงแยกก๊าซ ปตท. เสี่ยง
Letter to JETRO (BANGKOK) and His Reply
ประธานเจโทร กรุงเทพ ใช้เวลาเพียง 2 วัน ในการเร่งรัดตอบจดหมาย ที่ทางกลุ่มส่งไปให้รับรู้ และช่วยหาทางแก้ไข
ทำไมคนญี่ปุ่นให้ความสนใจ แต่ทำไมคนไทย พากันเย็นชาเฉยชานิ่งเฉยกันหมด ... ฯ
ประธานคณะกรรมการบริหาร เจโทร (กรุงเทพ) องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น
Munenori Yamada
President,
JETRO Bangkok
บางส่วนของจดหมายตอบกลับ
… “We assure you that we are committed to indicated rules and regulations, and we do not compromise any safety standards.
In your email, you have delivered your concern to PM Abhisit and other ministers. We, Japanese and Japanese business community who enjoy staying in our great Thailand, strongly hope that Thai government will make proper actions on this issue. “ ....
ในอีเมลของคุณ คุณได้ส่งให้ นายกอภิสิทธิ์ และรัฐมนตรีหลายท่าน รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ไปแล้วนั้น เราชุมชนธุรกิจญี่ปุ่นและญี่ปุ่นที่ได้อยู่ในประเทศไทยได้อย่างดีและมีความสุข เราหวังอย่างสูงยิ่งว่า รัฐบาลไทยจะการดำเนินการกับปัญหานี้ อย่างเหมาะสมต่อไป 
แต่ นายอภิสิทธิ์ กลับไม่ทำอะไรเลย !!!???
น้ำท่วมดอนเมือง กับ หลายนิคมล่มจมน้ำ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะเกิด
เกิดเหตุแล้ว เสียหายแล้ว  มาจากอะไร เพราะเหตุภัยธรรมชาติทั้งหมดหรือ
คราก่อน...ถ้าเหตุภัยระงับไม่ได้ ลุกลามเอาไม่อยู่
ประชาชน ชาวบ้าน จะเจ็บตายมากเท่าไหร่
ที่ถูกปล่อยทิ้งให้ตาย การรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ชาวบ้านอพยพหนีตาย
เมื่อดูทีวี ที่ผู้ว่าระยอง สั่งอพยพ / ก๊าซรั่ว เพราะซีลวาล์วแตกรั่ว มันไฟไหม้-ระเบิดเองได้

ชุมชนมากมายรายล้อมอยู่ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.สร้างเสี่ยง
อยู่ติดตลาดอยู่ตรงกลางระหว่างชุมชนจำนวนมาก และโรงงานอันตรายอื่นๆ จำนวนมาก
จะทิ้งภัยเสี่ยงให้ประเทศชาติประชาชนหรือ หรือคิดเพียงว่า มันจะไม่เกิด หรือคิดว่า จะเอาอยู่
พรบ.ป้องกัน-บรรเทา สาธารณภัย พรบ.ความมั่นคงภายใน นำมาใช้เพื่อปกป้องประชาชนได้
ข้อมูลเพิ่มจำนวนมากดูได้จากเวบไซด์
ประวัติกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด
เสี่ยงภัยแค่ไหน เมื่อเทียบกับ การสร้างทำของโรงงานใกล้เคียง
 
ศรัลย์ ธนากรภักดี  - 081-3574725
ผู้ประสานงาน กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

รมต.พลังงาน มาเป็นประธานเปิด โรงแยกก๊าซ ที่ 6 เสี่ยงสร้างหายนะภัย ประชาชนชาวบ้าน

ควันดำโขมง ม่านพิษทะมึนกั้นฟ้าจนไม่เห็นดาว นั้นมาจากไหน ...


ที่วันนี้ยังแก้ไขอะไรกันไม่ได้ เพราะความไม่เสถียรในการผลิต แล้วส่งต่อไปให้โรงงานอื่นๆ ผลิตต่อ มันใช้ไม่ได้ มันจึงต้องเผาทิ้ง จนควันดำโขมงทั้งมาบตาพุด ... ความไม่เสถียรของโรงแยกก๊าซ ที่ 6 ที่ส่งก๊าซต่อไปให้ อีก 6-7 โรงงานนั่น เมื่อก๊าซที่ส่งไป มันไม่มีคุณภาพ ของเสียมากมาย จึงออกมาที่ปลายปล่อง ที่ไม่รู้ว่า อะไรอันตรายแค่ไหน ที่บอกว่าไม่อันตราย แต่ก้อเหม็นได้จนสำลักเจ็บอกซ้ำซาก ทุกดึกดื่นค่ำคืน ... นั่น

ใครจะแก้ล่ะ ปัญหานี้ ที่มาจากความไม่เสถียรของการผลิด หรือมาจากความไม่เสถียรของโครงสร้างแน่ที่ทำให้เครื่องจักรกลไก มันทำงานไม่ได้ตามปกติ
(รมต.พลังงาน คนใหม่ ที่มีฝีมือจะแก้ได้มั้ย /// จะปล่อยทิ้งปัญหาหรือไม่)

ถ้าไม่เร่งรีบมักง่าย ตอนก่อสร้างทำให้ฐานมันมั่นคงแข็งแรง ไม่ทรุด แนวแกนเครื่องจักรเอียงทำงานไม่เต็มร้อยเครื่องร้อนจัด การผลิตคงไม่มีปัญหา นี่ไหน การผลิตไม่สมบูรณ์ / ทรุดพังเล็กน้อย ท่อ-ข้อต่อ บิแตก ทำแก๊สรั่วได้อีก แม้ LPG มันไม่มีพิษมาก แต่ถ้ามันเกิดไฟไหม้ ระเบิดนั่น ใครจะรับผิดชอบ ถ้าบังเอิญมาลุกลามจนคุมไม่ได้ แบบอเมริกา แบบจีน แบบเม็กซิโกนั่น ฯ

ประชาชนชาวบ้าน ต้องรับเวรรับกรรม ที่ไม่ได้ก่อกันหรืออย่างไร ///

ถ่ายโอนอำนาจมาแล้ว ปัญหาที่ถ่ายโอนมา ... ก้อควรเยียวยาให้เสร็จด้วย


รมต. พลังงานคนใหม่ นายพิชัย นริพทะพันธุ์
มาเป็นประธานเปิดโรงแยกก๊าซ ที่ 6 เสี่ยงสร้างหายนะภัย กับ คลังก๊าซ LNG

รับถ่ายโอนอำนาจมาแล้ว ปัญหาที่ถ่ายโอนมา ... ก้อควรเยียวยาให้เสร็จด้วย


วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ASTV สื่ออ้างธรรมบังหน้า ต่อนดี ! จาก 3 ต่อน ที่ตกแตก ของ พธม.ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จริงหรือ!



ถ้าไม่อ้างธรรมอ้างดี ไม่โฆษณาเกินจริงว่า ดีจริงกว่าสื่อเลวอื่นๆ ทั้งหมด วันนี้ จะไม่มีการเรียกร้องแสวงหา ... การใช้ธรรมความดี บังหน้า พรางตา มหาชน หลอกคนทั้งประเทศนั้น อีกหน่อยเด็กๆ ประเทศนี้ คงสับสน ว่าเรื่องธรรมความดีจิตอาสาจิตสาธารณะ สามารถเลือกทำเป็นบางเรื่องได้ ... เรื่องที่สมประโยชน์โภชผลแล้ว ให้เลวแค่ไหน จะสร้างความเดือดร้อนอันตรายกับผู้คนประชาชนอย่างไรมากแค่ไหน ก้อไม่ต้องสนใจใส่ใจแสวงหาข้อเท็จจริง แบบนี้เรียกว่า "ไม่ต้องรอให้ตาย ก้อไปนั่งโม่แป้งแทนผีได้ ... ถ้าช่องรับช่องจ่ายสะดวก ตรวจสอบไม่ได้" ... หลอกคนอื่นได้ แต่หลอกตัวเองไม่ได้ ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวปิด ปิดไม่ได้ปิดไม่มิด ...

เป็นสื่อเดียว ที่พยายามสร้างความถูกต้องให้สังคม แต่ถ้ายังมีความน่าเคลือบแคลงน่าสงสัยแล้วนั้น - ที่ว่าถูกต้องจะถูกแท้แน่จริงแบบที่พูดหรือไม่ เพราะปัญหาบ้านเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสมประโยชน์ ... ของบางคน ที่เอาธรรมเอาความดี ไปชักชวนคนดี มาเป็นเครื่องมือ เพื่อเข้าถึงประโยชน์ฯ

รู้เรื่อง ที่ประชาชนสาธารณะจำนวนมากจะอันตรายรุนแรง ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อาจกระทบรุนแรงกับประเทศชาติ ... แต่กลับไม่นำพาใส่ใจ อ้างหน้าตาเฉยว่าไม่ใช่หน้าที่ของสื่อมวลชน ฯ - แบบนี้หรือคือ สื่อเอาธรรมนำหน้ากล้าเสนอความจริง ... หลายคนที่แยกตัวออกไป คงรู้จริงว่า "ดีแต่พูด ว่าดีมีธรรม แต่ไม่มีจริง เป็นแค่คำโฆษณาชวนเชื่อ ที่หลอกคนดีๆ กันไปวันๆ"

จริยธรรม ความดี ที่พร่ำพูด โดยคนบนเวที นั้น พูดเหมือนแม่ชีแก้กรรม มั้ย อ้างกรรมอ้างธรรมอ้างความดี - สร้างตัวตนสร้างอิทธิพล จนใหญ่โต คับบ้านคับเมือง เห็นต่างไม่ได้ แกนนำ ฉลาดรู้ดีในทุกเรื่อง คนเห็นต่างแกนนำ คือทุรชน คนทรยศ ไม่รักชาติบ้านเมือง ไม่รักแผ่นดิน ... ไม่ต้องไปฟังความเห็นต่างที่อ้างว่ามีมาจากความคิดแสวงหาประโยชน์ เป็นอีแอบร้องหาประโยชน์ มีการจัดจ้างมา ทำลายธรรมทำลายความดี ที่กำลังดำเนินการกันอยู่ ...

เหิมเกริมโยนหินถามทาง สร้างตัวตนสร้างอิทธิพลพิเศษ จะเข้าสู่อำนาจด้วยวิธีพิเศษ โดยอ้างธรรมความดี และความรักหวงแหนแผ่นดิน "ปราบดาภิเษก" แล้วใครล่ะที่จะขึ้นเถลิงอำนาจ ... ไหนล่ะที่บอกว่าไม่แสวงหาประโยชน์โภชผล

โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรฯ กล่าวว่า อย่างที่กราบเรียนไปแล้วว่าบ้านเมืองตอนนี้ มีอยู่ 3 ก๊ก หนึ่ง ก๊กประชาธิปัตย์ มีอภิสิทธิ์ จรกา และทหารการเมือง ทหารพาณิชย์ สองคือก๊กเพื่อไทย มีทักษิณเป็นผู้นำ และเสื้อแดง สองก๊กนี้กำลังช่วงชิงกันเพื่อเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ประวัติศาสตร์สอนไว้ว่าเมื่อบ้านเมืองแตกป็น 3 ก๊ก จะต้องมีก๊กใดก๊กหนึ่งมีอำนาจเด็ดขาด และปราบดาภิเษกขึ้นมาขจัดก๊กทั้ง 2 ลงไป บ้านเมืองถึงสงบสุข

ตนเชื่อว่าทั้ง 2 ก๊ก ก๊กมาร์ค และก๊กเหลี่ยม ต้องพ่ายแพ้พลังของพี่น้องประชาชนแน่นอน และก๊กของพันธมิตรฯเป็นก๊กที่รักชาติ รักประชาธิปไตย ตามตำราก็เป็นก๊กของเล่าปี่ ขงเบ้ง เชื่อว่าก๊กนี้ต้องปราบดาภิเษกขึ้นมาอย่างแน่นอน

แต่เมื่อปราบดาภิเษกแล้ว เราต้องเอาธรรมนำหน้า ก็จะสามารถรักษาบ้านเมือง แม้ว่ามีบางคนกระเด็นกระดอนออกไปอย่าอาลัยอาวรณ์ เป็นเรื่องธรรมดา ( * ข้อท้วงติง * - เมื่อปราบดาภิเษก แล้วใครล่ะที่จะขึ้น “เถลิงอำนาจ” ถ้าไม่ใช่แกนนำ เพราะอีกครั้งถัดมา ยังย้ำอีกว่า “ในโบราณนั้น คนที่เป็นแกนนำผู้คน สถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์” ทำไมต้องพูดเวียนวน ให้ผู้คนคล้อยตามฯ)

"ขอให้กำลังใจว่าวันเวลาของการต่อสู้ และเปลี่ยนแปลงเข้ามาใกล้ทุกขณะ พี่น้องอาจจะมองไม่เห็นว่าน้ำที่ต้มอยู่นิ่งๆ เวลาเดือดฝากาอาจเปิดออกอย่างไม่ทันรู้ตัวก็ได้ เชื่อมั่นว่าพลังที่ถูกต้องดีงามจะนำพาบ้านเมืองไปสู่การเปลี่ยนแปลง พลังเก่าที่ล้าหลังต้องถูกพลังของพี่น้องประชาชนบดขยี้ทำลายอย่างแน่นอน จงเชื่อมั่นพลังอันดีงามของเรา ขอให้กำลังใจว่าถ้าหากมีการเลือกตั้งก็ต้องปรับกระบวนท่าในการรณรงค์โหวตโน แต่ถ้าไม่มีเลือกตั้งก็พร้อมปรับกระบวนไปสู่การเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง ในทางสร้างสรรค์และก้าวหน้า ทั้งหมดขึ้นอยู่ที่ฟ้าดินลิขิต และเชื่อว่าฟ้ามีตา สวรรค์มีใจ บ้านเมืองต้องเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน" นายประพันธ์ กล่าวปิดท้าย

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000052628

"คน พธม. คือ คนที่อุทิศตนเพื่อประโยชน์แห่งสาธาณะ ไม่ละเว้นวางเฉยกับเรื่องความทุกข์เดือดร้อนของผู้คนประชาชน มีจิตอาสา เสียสละ ไม่ต้องการผลประโยชน์ ความสุขคือการเห็นสังคมประเทศชาติดีขึ้น" - จริงแบบที่คนเวที ประกาศปาวๆ ทุกครึ่ง ชม. จริงหรือ ถ้าใช่ ทำไมจึงมาก่นด่า แบบไม่มีสติ คิดหรือว่า จะมีคนเสียสติบ้าวิปริตที่ไหน กล้าทะเลาะกับสื่อแบบ ASTV ถ้าเค้าไม่มีเหตุทุกข์เดือดร้อนใจที่ต้องการความเป็นธรรม ความถูกต้อง เพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายที่เผชิญหน้าอยู่ฯ

การเรียกร้องขอให้ทำตามที่ประกาศตัวไว้ กลายเป็นคนเสียจริต ถูกจัดจ้างมา ใช้ธรรมข้อไหนมอง หรือ วางอุเบกขากับความเดือดร้อนของผู้คนเสียสิ้นแล้วฯ

อิปัทปัจจยตา – สรรพสิ่งเกิดตั้งอยู่ดับไป ย่อมมีเหตุมีปัจจัย และตามพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า "เสียสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เสียสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต เสียสละชีวิตเพื่อรักษาธรรม"

การแสวงหา และรักษาธรรม

บทความนี้ จึงต้องถูกเขียนขึ้น

12 พ.ค. 2554

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

เลวซ้ำซาก ... เตรียมนับถอยหลัง หายนะ มาบตาพุด!

อ้างว่า ลงทุนหลายพันหลายหมื่นล้าน แต่มักง่ายประมาท ขาดความรับผิดชอบ พร้อมดันทุรังโครงการเสี่ยง - ขบวนการยุติธรรมล่าช้า ... อย่าคิดว่า ! เรื่องจะจบ เพราะไม่มีม๊อบ!

อุตฯเร่งสกัดมลพิษในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด หลังสำรวจพบ36 โรงงานเข้าข่ายใช้วัตถุดิบที่เป็นสารอินทรีย์ระเหยเกินมาตรฐาน เล็งร่างประกาศควบคุม ขณะที่เครือปตท.โอดหยุดกิจการ 2 ปี เสียหายยับกว่า 5,000 ล้าน

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 มกราคมนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)จะเสนอร่างประกาศควบคุมสารอินทรีย์ระเหย VOCs จากอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมให้รมว.อุตสาหกรรมลงนาม ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ โดยที่ผ่านมาพบว่าสารVOCs ที่ประกอบด้วยเบนซีน ,1-3 บิวทาไดอีน และ1-2 ไดโคลโรอีเทน ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพด มีการปล่อยออกมาเกินค่ามาตรการบางช่วงเวลา และจากการสำรวจพบว่ามี 36 โรงงานในมาบตาพุดที่เข้าข่ายใช้วัตถุดิบและการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสารดัง กล่าว คาดภายในสัปดาห์หน้าจะมีการหารือกันเพื่อหาแนวทางควบคุมต่อไป

ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะนำมาใช้เป็นระเบียบ และเกณฑ์ในการไปตรวจโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ หากโรงงานใดมีสารดังกล่าวรั่วซึมมากกว่ามาตรฐานที่กำหนด จะต้องทำการซ่อมบำรุง ภายในระยะเวลาที่กำหนด และหากยังไม่ดำเนินการตามกรมโรงงานฯ ก็มีอำนาจที่จะใช้พ.ร.บ.กรมโรงงานมาตรา 37 และ 39 ในการสั่งหยุดกิจการชั่วคราว

ขณะที่ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 21มกราคมที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของโครงการที่จัดอยู่ในประเภทกิจการรุนแรง 2 แห่ง ได้แก่โครงการของ บริษัทเก็คโค่ - วัน และ บริษัททีโอซี ไกลคอล โรงงานทั้ง 2 อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการทำตามมาตรา 67 วรรค 2 โดยโรงไฟฟ้าเก็คโค่ - วัน เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีกำลังการผลิตเกิน 100 เมกกะวัตต์ ยังมีความกังวลเรื่องการปล่อยน้ำลงสู่ทะเล ขณะที่โรงงานทีโอซี ไกลคอล ซึ่งเป็นโรงงานปิโตรเคมีขั้นกลาง เป็นห่วงเรื่องการปล่อยมลพิษออกสู่อากาศ

ด้านนายวีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โรงงานเอทธิลีนไกลคอล ส่วนขยาย ของบริษัทได้ลงทุนไปราว 1,500 ล้านบาท กำลังผลิต 100,000 ตันต่อปี และก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปลายปี 2551 แต่โดนระงับกิจการ อย่างไรก็ดีขณะนี้ได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่จากการหยุดดำเนินการนานกว่า 2 ปี ทำให้สูญเสียรายได้แล้วกว่า 5,000 ล้านบาท

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

กรรมการองค์การอิสระ ด้านสิ่งแวดล้อม-สุขภาพ จะทำอะไร เพื่อประชาชน

"ผู้คนประชาชน จะหวังอะไรได้ จากผู้คนเหล่านี้ ขนาดตัวแทนประชาชน ยังไม่ขยับทำอะไร ให้เกิดผล ..." - กรรมการ จะชั่วคราวหรือถาวร คนไหนที่จะทำอะไรเพื่อผู้คนประชาชน หรือแค่คนที่กลุ่มทุนอุตสาหกรรม ค้ำจุน ไม่ต่างกับ สื่อมวลชนไทยสายสิ่งแวดล้อมหรือสมาคม-เครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นแต่การสร้างภาพ ให้มัวเมากับสีแสงกระดาษ สีเขียว ไม่ได้ทำอะไร ให้บังเกิดผล เป็นรูปธรรม แต่กลับสร้างความรู้สึกให้สังคมว่า การห่วงใยสิ่งแวดล้อม กำลังทำร้ายทำลาย สภาวะเศรษฐกิจ ของชาติ

เมื่อประชาชน ขาดที่พึ่ง การประท้วงจากผู้คนที่ได้รับผลกระทบ ไม่สามารถทำให้เกิดผลอะไรได้ มีแต่คนแสแสร้ง ว่ารักว่าห่วง สุดท้าย ... อ้างว่า ทำอะไรไม่ได้แล้ว สู้มาถึงจุดสุดท้ายแล้ว แบบที่ผ่านที่เป็น! จากผู้ประกาศตัวว่า ข้าคือ ตัวแทนประชาชน ...


เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ที่โรงแรมมิราเคิล นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติในคณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นองค์การอิสระ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รายชื่อคณะกรรมการบริหารองค์การอิสระ (เฉพาะกาล) ตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วโดยมีตัวแทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพและสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพผ่านคุณสมบัติ และแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มมีผู้แทนกลุ่มละ 2 คนรวม 12 คน นายเดชรัตน์ กล่าวว่า
สำหรับคณะกรรมการองค์การอิสระทั้ง 12 คน มีดังนี้

องค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
อันดับที่ 2 นายเริงชัย ตันสกุล สมาคมรักษ์ทะเลไทย
องค์การเอกชนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 ว่าที่ ร.ต. สุรพล ดวงแข มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
อันดับ ที่ 2 นายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ
องค์การเอกชนด้านสุขภาพ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นายศุภกิจ นันทะวรการ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
อันดับที่ 2 นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ มูลนิธิสุขภาพไทย
สถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ตัวแทนจากผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อันดับที่ 2 นายถนอมศักดิ์ บุญภักดี มหาวิทยาลัยบูรพา
สถาบันอุดมศึกษาด้านทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นายสัญชัย สูติพันธ์วิหาร มหาวิทยาลัยมหิดล
อันดับที่ 2 ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ มานะเศวต จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันอุดมศึกษาด้านสุขภาพ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นพ.พิทยา จารุพูลผล มหาวิทยาลัยมหิดล
อันดับที่ 2 ดร.ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์ จากวิทยาลัยนคร ราชสีมา

โดยจะมีการประชุมในวันที่ 30 เม.ย. เพื่อคัดเลือกประธานคณะกรรมการฯ และกำหนดกรอบการทำงานอีกครั้งหนึ่ง ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม "หลังจากนี้องค์การอิสระ สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาโครงการรุนแรงตามมาตรา 67 ออกมาให้ได้ เนื่องจากในช่วง 2 เดือนข้างหน้านี้มีโครงการมาบตาพุดที่เป็นงานเร่งด่วนที่รออยู่" นายเดชรัตน์ ระบุ.

1. การจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติว่า “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว”

ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาและผู้แทนองค์การเอกชนทั่วประเทศ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ ได้มาประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 และคัดเลือกกันเองเป็นคณะกรรมการองค์การอิสระจำนวน 13 คน

สำหรับประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2553 เป็นประกาศการจัดตั้งองค์การอิสระ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของหน่วยงานรัฐในส่วนต่างๆ มิใช่การแต่งตั้งคณะกรรมการองค์การอิสระแต่อย่างใด

2. ทำไมจึงเป็นคณะกรรมการชุดเฉพาะกาลเท่านั้น?
ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ต้องจัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ โดยคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองฯ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. .... และเสนอให้กับรัฐบาลแล้ว

แต่กระบวนการพิจารณาของรัฐบาลและรัฐสภา อาจใช้ระยะเวลายาวนาน ในขณะที่โครงการต่างๆ ทั่วประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ก็เดินหน้าโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ครบถ้วนตามมาตรา 67 วรรคสอง รวมทั้งโครงการต่างๆ ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งต้องหยุดโครงการไว้ก่อนตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง

จึงมีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) โดยมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานการให้ความเห็นขององค์การอิสระฯ พ.ศ.2553 รองรับกระบวนการคัดเลือกและการดำเนินงานให้ความเห็นที่เป็นอิสระ

เมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับใช้ จะมีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามพระราชบัญญัติต่อไป

3. สังคมไทยจะได้ประโยชน์อะไร จากการมีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 กำหนดให้มีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อมุ่งคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของชุมชนและประชาชน ในการมีส่วนร่วมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

โดยเฉพาะการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชน ซึ่งเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชนที่ยืดเยื้อยาวนานของสังคมไทยและยังคงส่งผลกระทบทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความขัดแย้งในสังคมอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่โครงการที่เป็นปัญหามาหลายสิบปี เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง, เขื่อนปากมูน จ.อุบลราชธานี, นิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน, เหมืองที่ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ฯลฯ มาจนถึงโครงการต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น โรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้าที่จะนะ จ.สงขลา, โรงเหล็กที่ จ.ประจวบฯ, การขยายสนามบินสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ, เหมืองแร่โพแทชใน 6 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, หรือโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น

ทุกพื้นที่ในประเทศ อาจเกิดโครงการประเภทต่างๆ เหล่านี้ได้ในอนาคต ในขณะที่ระบบการปกป้องและคุ้มครองสิทธิชุมชน รวมทั้งระบบการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงเหล่านี้ ยังคงมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอีกหลายประการ ส่งผลให้หลายชุมชนคัดค้านโครงการลงทุนต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบได้ จนนำมาสู่ความไม่ไว้วางใจกันในสังคมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในกรณีโครงการพัฒนาต่างๆ

สังคมไทยจึงจำเป็นต้องมีกลไกเพิ่มขึ้นในกระบวนการตัดสินใจของรัฐ โดยเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความเป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐและผลประโยชน์ของเอกชน สำหรับให้ความเห็นประกอบในโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง ทั้งความจำเป็นของโครงการ, การป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ, และทางเลือกทางออกในการตัดสินใจโครงการบนฐานผลประโยชน์ส่วนรวม ก่อนที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบของรัฐจะตัดสินใจอนุญาตหรือไม่อนุญาตโครงการ

ในขณะที่สำนักงานองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ราชการ ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล และกองทุนอื่นๆ ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

4. แนวทางการดำเนินงานขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)

การให้ความเห็นขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) ต่อโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ต้องมุ่งสร้างการพัฒนาอย่างฉลาดและมีเหตุผล ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมและความยั่งยืนของสังคม เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิชุมชน รวมทั้งเสริมสร้างความไว้วางใจกันในสังคม

ดังนั้นองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) จึงต้องใช้ข้อมูลหลักฐานทางวิชาการอย่างรอบด้าน และเปิดกว้างรับความคิดเห็นและข้อเสนอจากทุกๆ ภาคส่วนในสังคม รวมทั้งมุมมองความคิดและภูมิปัญญาของชุมชนในพื้นที่โครงการ

แนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ความเห็นต่อโครงการ จึงเน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม การประสานงานกับภาคีเครือข่ายนักวิชาการและประชาสังคมทั่วประเทศ และโดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับองค์การเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาในด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ

5. ประเด็นในการให้ความเห็นต่อโครงการ
การให้ความเห็นขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้น จะไม่จำกัดเฉพาะการให้ความเห็นต่อรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นอื่นๆ ของโครงการ เช่น ความจำเป็นของการมีโครงการ การป้องกันผลกระทบทางลบและส่งเสริมผลประโยชน์ในทางบวก และทางเลือกในการดำเนินโครงการด้วย เพื่อสะท้อนความคิดและเหตุผลของกลุ่มต่างๆ ในสังคม และเสนอทางเลือกหรือทางออกในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการนั้นๆ ด้วย

6. ความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
ขณะนี้ คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาแนวทาง กระบวนการ หลักเกณฑ์ และกลไกในการทำงานขององค์การอิสระฯ โดยเฉพาะการพิจารณาให้ความเห็นต่อโครงการต่างๆ ที่อาจส่งกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชน รวมทั้งดำเนินการจัดตั้งสำนักงาน และการวางหลักเกณฑ์ กำหนดคุณสมบัติ และการคัดเลือกพนักงานประจำหลายตำแหน่งเพื่อเข้ามาทำงานในสำนักงาน

7. ประชาชน จะเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) ได้อย่างไรบ้าง องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพฯ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ในกระบวนการให้ความเห็นต่อโครงการ จึงมีหลายช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ดังนี้

1) ท่านสามารถส่งเรื่อง หรือข้อมูล หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการที่อาจกระทบรุนแรงตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ให้กับองค์การอิสระฯ เพื่อใช้พิจารณาในการให้ความเห็นต่อโครงการ

2) ท่านสามารถเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นในเวทีต่างๆ ที่องค์การอิสระฯ จะจัดขึ้นในจังหวัดต่างๆ ตามแต่ละกรณีโครงการ หรือเวทีการรับฟังความคิดเห็นในประเด็นสำคัญหรือประเด็นภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับการให้ความเห็นขององค์การอิสระฯ

3) ท่านสามารถพูดคุยและให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ขององค์การอิสระฯ ซึ่งเข้าร่วมสังเกตการณ์เวทีต่างๆ ที่ทางโครงการจะจัดขึ้น ทั้งเวทีการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบ (Public Scoping), เวทีการทบทวนร่างรายงานฯ (Public Review), หรือเวทีอื่นๆ

4) ท่านอาจพิจารณาส่งข้อมูลให้องค์การอิสระฯ รวบรวมในทำเนียบข้อมูลบุคคลและองค์กรที่มีความรู้ ประสบการณ์ หรือภูมิปัญญาในด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพ เพื่อใช้ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือการทำงานในรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองคุณสมบัติ ซึ่งองค์การอิสระฯ กำลังพิจารณา และจะประกาศเผยแพร่สาธารณะต่อไป

8. การติดต่อองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานขององค์กรอิสระด้าน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นการชั่วคราว
โดยท่านสามารถติดต่อได้ที่ สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่อยู่ 49 พระราม 6
ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 0-2298-5639, 0-2278-8400-19 ต่อ 1752, 1561
โทรสาร 0-2298-5650
Email: bajaree@deqp.go.th