"ผู้คนประชาชน จะหวังอะไรได้ จากผู้คนเหล่านี้ ขนาดตัวแทนประชาชน ยังไม่ขยับทำอะไร ให้เกิดผล ..." - กรรมการ จะชั่วคราวหรือถาวร คนไหนที่จะทำอะไรเพื่อผู้คนประชาชน หรือแค่คนที่กลุ่มทุนอุตสาหกรรม ค้ำจุน ไม่ต่างกับ สื่อมวลชนไทยสายสิ่งแวดล้อมหรือสมาคม-เครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นแต่การสร้างภาพ ให้มัวเมากับสีแสงกระดาษ สีเขียว ไม่ได้ทำอะไร ให้บังเกิดผล เป็นรูปธรรม แต่กลับสร้างความรู้สึกให้สังคมว่า การห่วงใยสิ่งแวดล้อม กำลังทำร้ายทำลาย สภาวะเศรษฐกิจ ของชาติ
เมื่อประชาชน ขาดที่พึ่ง การประท้วงจากผู้คนที่ได้รับผลกระทบ ไม่สามารถทำให้เกิดผลอะไรได้ มีแต่คนแสแสร้ง ว่ารักว่าห่วง สุดท้าย ... อ้างว่า ทำอะไรไม่ได้แล้ว สู้มาถึงจุดสุดท้ายแล้ว แบบที่ผ่านที่เป็น! จากผู้ประกาศตัวว่า ข้าคือ ตัวแทนประชาชน ...
องค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
อันดับที่ 2 นายเริงชัย ตันสกุล สมาคมรักษ์ทะเลไทย
องค์การเอกชนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 ว่าที่ ร.ต. สุรพล ดวงแข มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
อันดับ ที่ 2 นายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ
องค์การเอกชนด้านสุขภาพ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นายศุภกิจ นันทะวรการ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
อันดับที่ 2 นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ มูลนิธิสุขภาพไทย
สถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ตัวแทนจากผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อันดับที่ 2 นายถนอมศักดิ์ บุญภักดี มหาวิทยาลัยบูรพา
สถาบันอุดมศึกษาด้านทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นายสัญชัย สูติพันธ์วิหาร มหาวิทยาลัยมหิดล
อันดับที่ 2 ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ มานะเศวต จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันอุดมศึกษาด้านสุขภาพ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นพ.พิทยา จารุพูลผล มหาวิทยาลัยมหิดล
อันดับที่ 2 ดร.ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์ จากวิทยาลัยนคร ราชสีมา
โดยจะมีการประชุมในวันที่ 30 เม.ย. เพื่อคัดเลือกประธานคณะกรรมการฯ และกำหนดกรอบการทำงานอีกครั้งหนึ่ง ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม "หลังจากนี้องค์การอิสระ สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาโครงการรุนแรงตามมาตรา 67 ออกมาให้ได้ เนื่องจากในช่วง 2 เดือนข้างหน้านี้มีโครงการมาบตาพุดที่เป็นงานเร่งด่วนที่รออยู่" นายเดชรัตน์ ระบุ.
1. การจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติว่า “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว”
ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาและผู้แทนองค์การเอกชนทั่วประเทศ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ ได้มาประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 และคัดเลือกกันเองเป็นคณะกรรมการองค์การอิสระจำนวน 13 คน
สำหรับประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2553 เป็นประกาศการจัดตั้งองค์การอิสระ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของหน่วยงานรัฐในส่วนต่างๆ มิใช่การแต่งตั้งคณะกรรมการองค์การอิสระแต่อย่างใด
2. ทำไมจึงเป็นคณะกรรมการชุดเฉพาะกาลเท่านั้น?
ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ต้องจัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ โดยคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองฯ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. .... และเสนอให้กับรัฐบาลแล้ว
แต่กระบวนการพิจารณาของรัฐบาลและรัฐสภา อาจใช้ระยะเวลายาวนาน ในขณะที่โครงการต่างๆ ทั่วประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ก็เดินหน้าโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ครบถ้วนตามมาตรา 67 วรรคสอง รวมทั้งโครงการต่างๆ ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งต้องหยุดโครงการไว้ก่อนตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง
จึงมีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) โดยมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานการให้ความเห็นขององค์การอิสระฯ พ.ศ.2553 รองรับกระบวนการคัดเลือกและการดำเนินงานให้ความเห็นที่เป็นอิสระ
เมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับใช้ จะมีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามพระราชบัญญัติต่อไป
3. สังคมไทยจะได้ประโยชน์อะไร จากการมีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 กำหนดให้มีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อมุ่งคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของชุมชนและประชาชน ในการมีส่วนร่วมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
โดยเฉพาะการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชน ซึ่งเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชนที่ยืดเยื้อยาวนานของสังคมไทยและยังคงส่งผลกระทบทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความขัดแย้งในสังคมอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่โครงการที่เป็นปัญหามาหลายสิบปี เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง, เขื่อนปากมูน จ.อุบลราชธานี, นิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน, เหมืองที่ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ฯลฯ มาจนถึงโครงการต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น โรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้าที่จะนะ จ.สงขลา, โรงเหล็กที่ จ.ประจวบฯ, การขยายสนามบินสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ, เหมืองแร่โพแทชใน 6 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, หรือโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น
ทุกพื้นที่ในประเทศ อาจเกิดโครงการประเภทต่างๆ เหล่านี้ได้ในอนาคต ในขณะที่ระบบการปกป้องและคุ้มครองสิทธิชุมชน รวมทั้งระบบการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงเหล่านี้ ยังคงมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอีกหลายประการ ส่งผลให้หลายชุมชนคัดค้านโครงการลงทุนต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบได้ จนนำมาสู่ความไม่ไว้วางใจกันในสังคมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในกรณีโครงการพัฒนาต่างๆ
สังคมไทยจึงจำเป็นต้องมีกลไกเพิ่มขึ้นในกระบวนการตัดสินใจของรัฐ โดยเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความเป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐและผลประโยชน์ของเอกชน สำหรับให้ความเห็นประกอบในโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง ทั้งความจำเป็นของโครงการ, การป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ, และทางเลือกทางออกในการตัดสินใจโครงการบนฐานผลประโยชน์ส่วนรวม ก่อนที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบของรัฐจะตัดสินใจอนุญาตหรือไม่อนุญาตโครงการ
ในขณะที่สำนักงานองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ราชการ ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล และกองทุนอื่นๆ ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
4. แนวทางการดำเนินงานขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
การให้ความเห็นขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) ต่อโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ต้องมุ่งสร้างการพัฒนาอย่างฉลาดและมีเหตุผล ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมและความยั่งยืนของสังคม เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิชุมชน รวมทั้งเสริมสร้างความไว้วางใจกันในสังคม
ดังนั้นองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) จึงต้องใช้ข้อมูลหลักฐานทางวิชาการอย่างรอบด้าน และเปิดกว้างรับความคิดเห็นและข้อเสนอจากทุกๆ ภาคส่วนในสังคม รวมทั้งมุมมองความคิดและภูมิปัญญาของชุมชนในพื้นที่โครงการ
แนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ความเห็นต่อโครงการ จึงเน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม การประสานงานกับภาคีเครือข่ายนักวิชาการและประชาสังคมทั่วประเทศ และโดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับองค์การเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาในด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ
5. ประเด็นในการให้ความเห็นต่อโครงการ
การให้ความเห็นขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้น จะไม่จำกัดเฉพาะการให้ความเห็นต่อรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นอื่นๆ ของโครงการ เช่น ความจำเป็นของการมีโครงการ การป้องกันผลกระทบทางลบและส่งเสริมผลประโยชน์ในทางบวก และทางเลือกในการดำเนินโครงการด้วย เพื่อสะท้อนความคิดและเหตุผลของกลุ่มต่างๆ ในสังคม และเสนอทางเลือกหรือทางออกในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการนั้นๆ ด้วย
6. ความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
ขณะนี้ คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาแนวทาง กระบวนการ หลักเกณฑ์ และกลไกในการทำงานขององค์การอิสระฯ โดยเฉพาะการพิจารณาให้ความเห็นต่อโครงการต่างๆ ที่อาจส่งกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชน รวมทั้งดำเนินการจัดตั้งสำนักงาน และการวางหลักเกณฑ์ กำหนดคุณสมบัติ และการคัดเลือกพนักงานประจำหลายตำแหน่งเพื่อเข้ามาทำงานในสำนักงาน
7. ประชาชน จะเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) ได้อย่างไรบ้าง องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพฯ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ในกระบวนการให้ความเห็นต่อโครงการ จึงมีหลายช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ดังนี้
8. การติดต่อองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานขององค์กรอิสระด้าน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นการชั่วคราว
โดยท่านสามารถติดต่อได้ที่ สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่อยู่ 49 พระราม 6
ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 0-2298-5639, 0-2278-8400-19 ต่อ 1752, 1561
โทรสาร 0-2298-5650
Email: bajaree@deqp.go.th
ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติว่า “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว”
ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาและผู้แทนองค์การเอกชนทั่วประเทศ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ ได้มาประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 และคัดเลือกกันเองเป็นคณะกรรมการองค์การอิสระจำนวน 13 คน
สำหรับประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2553 เป็นประกาศการจัดตั้งองค์การอิสระ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของหน่วยงานรัฐในส่วนต่างๆ มิใช่การแต่งตั้งคณะกรรมการองค์การอิสระแต่อย่างใด
2. ทำไมจึงเป็นคณะกรรมการชุดเฉพาะกาลเท่านั้น?
ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ต้องจัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ โดยคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองฯ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. .... และเสนอให้กับรัฐบาลแล้ว
แต่กระบวนการพิจารณาของรัฐบาลและรัฐสภา อาจใช้ระยะเวลายาวนาน ในขณะที่โครงการต่างๆ ทั่วประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ก็เดินหน้าโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ครบถ้วนตามมาตรา 67 วรรคสอง รวมทั้งโครงการต่างๆ ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งต้องหยุดโครงการไว้ก่อนตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง
จึงมีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) โดยมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานการให้ความเห็นขององค์การอิสระฯ พ.ศ.2553 รองรับกระบวนการคัดเลือกและการดำเนินงานให้ความเห็นที่เป็นอิสระ
เมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับใช้ จะมีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามพระราชบัญญัติต่อไป
3. สังคมไทยจะได้ประโยชน์อะไร จากการมีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 กำหนดให้มีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อมุ่งคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของชุมชนและประชาชน ในการมีส่วนร่วมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
โดยเฉพาะการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชน ซึ่งเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชนที่ยืดเยื้อยาวนานของสังคมไทยและยังคงส่งผลกระทบทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความขัดแย้งในสังคมอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่โครงการที่เป็นปัญหามาหลายสิบปี เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง, เขื่อนปากมูน จ.อุบลราชธานี, นิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน, เหมืองที่ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ฯลฯ มาจนถึงโครงการต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น โรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้าที่จะนะ จ.สงขลา, โรงเหล็กที่ จ.ประจวบฯ, การขยายสนามบินสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ, เหมืองแร่โพแทชใน 6 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, หรือโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น
ทุกพื้นที่ในประเทศ อาจเกิดโครงการประเภทต่างๆ เหล่านี้ได้ในอนาคต ในขณะที่ระบบการปกป้องและคุ้มครองสิทธิชุมชน รวมทั้งระบบการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงเหล่านี้ ยังคงมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอีกหลายประการ ส่งผลให้หลายชุมชนคัดค้านโครงการลงทุนต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบได้ จนนำมาสู่ความไม่ไว้วางใจกันในสังคมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในกรณีโครงการพัฒนาต่างๆ
สังคมไทยจึงจำเป็นต้องมีกลไกเพิ่มขึ้นในกระบวนการตัดสินใจของรัฐ โดยเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความเป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐและผลประโยชน์ของเอกชน สำหรับให้ความเห็นประกอบในโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง ทั้งความจำเป็นของโครงการ, การป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ, และทางเลือกทางออกในการตัดสินใจโครงการบนฐานผลประโยชน์ส่วนรวม ก่อนที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบของรัฐจะตัดสินใจอนุญาตหรือไม่อนุญาตโครงการ
ในขณะที่สำนักงานองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ราชการ ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล และกองทุนอื่นๆ ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
4. แนวทางการดำเนินงานขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
การให้ความเห็นขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) ต่อโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ต้องมุ่งสร้างการพัฒนาอย่างฉลาดและมีเหตุผล ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมและความยั่งยืนของสังคม เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิชุมชน รวมทั้งเสริมสร้างความไว้วางใจกันในสังคม
ดังนั้นองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) จึงต้องใช้ข้อมูลหลักฐานทางวิชาการอย่างรอบด้าน และเปิดกว้างรับความคิดเห็นและข้อเสนอจากทุกๆ ภาคส่วนในสังคม รวมทั้งมุมมองความคิดและภูมิปัญญาของชุมชนในพื้นที่โครงการ
แนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ความเห็นต่อโครงการ จึงเน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม การประสานงานกับภาคีเครือข่ายนักวิชาการและประชาสังคมทั่วประเทศ และโดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับองค์การเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาในด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ
5. ประเด็นในการให้ความเห็นต่อโครงการ
การให้ความเห็นขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้น จะไม่จำกัดเฉพาะการให้ความเห็นต่อรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นอื่นๆ ของโครงการ เช่น ความจำเป็นของการมีโครงการ การป้องกันผลกระทบทางลบและส่งเสริมผลประโยชน์ในทางบวก และทางเลือกในการดำเนินโครงการด้วย เพื่อสะท้อนความคิดและเหตุผลของกลุ่มต่างๆ ในสังคม และเสนอทางเลือกหรือทางออกในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการนั้นๆ ด้วย
6. ความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
ขณะนี้ คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาแนวทาง กระบวนการ หลักเกณฑ์ และกลไกในการทำงานขององค์การอิสระฯ โดยเฉพาะการพิจารณาให้ความเห็นต่อโครงการต่างๆ ที่อาจส่งกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชน รวมทั้งดำเนินการจัดตั้งสำนักงาน และการวางหลักเกณฑ์ กำหนดคุณสมบัติ และการคัดเลือกพนักงานประจำหลายตำแหน่งเพื่อเข้ามาทำงานในสำนักงาน
7. ประชาชน จะเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) ได้อย่างไรบ้าง องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพฯ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ในกระบวนการให้ความเห็นต่อโครงการ จึงมีหลายช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ดังนี้
1) ท่านสามารถส่งเรื่อง หรือข้อมูล หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการที่อาจกระทบรุนแรงตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ให้กับองค์การอิสระฯ เพื่อใช้พิจารณาในการให้ความเห็นต่อโครงการ 2) ท่านสามารถเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นในเวทีต่างๆ ที่องค์การอิสระฯ จะจัดขึ้นในจังหวัดต่างๆ ตามแต่ละกรณีโครงการ หรือเวทีการรับฟังความคิดเห็นในประเด็นสำคัญหรือประเด็นภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับการให้ความเห็นขององค์การอิสระฯ 3) ท่านสามารถพูดคุยและให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ขององค์การอิสระฯ ซึ่งเข้าร่วมสังเกตการณ์เวทีต่างๆ ที่ทางโครงการจะจัดขึ้น ทั้งเวทีการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบ (Public Scoping), เวทีการทบทวนร่างรายงานฯ (Public Review), หรือเวทีอื่นๆ 4) ท่านอาจพิจารณาส่งข้อมูลให้องค์การอิสระฯ รวบรวมในทำเนียบข้อมูลบุคคลและองค์กรที่มีความรู้ ประสบการณ์ หรือภูมิปัญญาในด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพ เพื่อใช้ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือการทำงานในรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองคุณสมบัติ ซึ่งองค์การอิสระฯ กำลังพิจารณา และจะประกาศเผยแพร่สาธารณะต่อไป |
8. การติดต่อองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานขององค์กรอิสระด้าน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นการชั่วคราว
โดยท่านสามารถติดต่อได้ที่ สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่อยู่ 49 พระราม 6
ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 0-2298-5639, 0-2278-8400-19 ต่อ 1752, 1561
โทรสาร 0-2298-5650
Email: bajaree@deqp.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น