วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

รมต.พลังงาน มาเป็นประธานเปิด โรงแยกก๊าซ ที่ 6 เสี่ยงสร้างหายนะภัย ประชาชนชาวบ้าน

ควันดำโขมง ม่านพิษทะมึนกั้นฟ้าจนไม่เห็นดาว นั้นมาจากไหน ...


ที่วันนี้ยังแก้ไขอะไรกันไม่ได้ เพราะความไม่เสถียรในการผลิต แล้วส่งต่อไปให้โรงงานอื่นๆ ผลิตต่อ มันใช้ไม่ได้ มันจึงต้องเผาทิ้ง จนควันดำโขมงทั้งมาบตาพุด ... ความไม่เสถียรของโรงแยกก๊าซ ที่ 6 ที่ส่งก๊าซต่อไปให้ อีก 6-7 โรงงานนั่น เมื่อก๊าซที่ส่งไป มันไม่มีคุณภาพ ของเสียมากมาย จึงออกมาที่ปลายปล่อง ที่ไม่รู้ว่า อะไรอันตรายแค่ไหน ที่บอกว่าไม่อันตราย แต่ก้อเหม็นได้จนสำลักเจ็บอกซ้ำซาก ทุกดึกดื่นค่ำคืน ... นั่น

ใครจะแก้ล่ะ ปัญหานี้ ที่มาจากความไม่เสถียรของการผลิด หรือมาจากความไม่เสถียรของโครงสร้างแน่ที่ทำให้เครื่องจักรกลไก มันทำงานไม่ได้ตามปกติ
(รมต.พลังงาน คนใหม่ ที่มีฝีมือจะแก้ได้มั้ย /// จะปล่อยทิ้งปัญหาหรือไม่)

ถ้าไม่เร่งรีบมักง่าย ตอนก่อสร้างทำให้ฐานมันมั่นคงแข็งแรง ไม่ทรุด แนวแกนเครื่องจักรเอียงทำงานไม่เต็มร้อยเครื่องร้อนจัด การผลิตคงไม่มีปัญหา นี่ไหน การผลิตไม่สมบูรณ์ / ทรุดพังเล็กน้อย ท่อ-ข้อต่อ บิแตก ทำแก๊สรั่วได้อีก แม้ LPG มันไม่มีพิษมาก แต่ถ้ามันเกิดไฟไหม้ ระเบิดนั่น ใครจะรับผิดชอบ ถ้าบังเอิญมาลุกลามจนคุมไม่ได้ แบบอเมริกา แบบจีน แบบเม็กซิโกนั่น ฯ

ประชาชนชาวบ้าน ต้องรับเวรรับกรรม ที่ไม่ได้ก่อกันหรืออย่างไร ///

ถ่ายโอนอำนาจมาแล้ว ปัญหาที่ถ่ายโอนมา ... ก้อควรเยียวยาให้เสร็จด้วย


รมต. พลังงานคนใหม่ นายพิชัย นริพทะพันธุ์
มาเป็นประธานเปิดโรงแยกก๊าซ ที่ 6 เสี่ยงสร้างหายนะภัย กับ คลังก๊าซ LNG

รับถ่ายโอนอำนาจมาแล้ว ปัญหาที่ถ่ายโอนมา ... ก้อควรเยียวยาให้เสร็จด้วย


วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ASTV สื่ออ้างธรรมบังหน้า ต่อนดี ! จาก 3 ต่อน ที่ตกแตก ของ พธม.ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จริงหรือ!



ถ้าไม่อ้างธรรมอ้างดี ไม่โฆษณาเกินจริงว่า ดีจริงกว่าสื่อเลวอื่นๆ ทั้งหมด วันนี้ จะไม่มีการเรียกร้องแสวงหา ... การใช้ธรรมความดี บังหน้า พรางตา มหาชน หลอกคนทั้งประเทศนั้น อีกหน่อยเด็กๆ ประเทศนี้ คงสับสน ว่าเรื่องธรรมความดีจิตอาสาจิตสาธารณะ สามารถเลือกทำเป็นบางเรื่องได้ ... เรื่องที่สมประโยชน์โภชผลแล้ว ให้เลวแค่ไหน จะสร้างความเดือดร้อนอันตรายกับผู้คนประชาชนอย่างไรมากแค่ไหน ก้อไม่ต้องสนใจใส่ใจแสวงหาข้อเท็จจริง แบบนี้เรียกว่า "ไม่ต้องรอให้ตาย ก้อไปนั่งโม่แป้งแทนผีได้ ... ถ้าช่องรับช่องจ่ายสะดวก ตรวจสอบไม่ได้" ... หลอกคนอื่นได้ แต่หลอกตัวเองไม่ได้ ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวปิด ปิดไม่ได้ปิดไม่มิด ...

เป็นสื่อเดียว ที่พยายามสร้างความถูกต้องให้สังคม แต่ถ้ายังมีความน่าเคลือบแคลงน่าสงสัยแล้วนั้น - ที่ว่าถูกต้องจะถูกแท้แน่จริงแบบที่พูดหรือไม่ เพราะปัญหาบ้านเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสมประโยชน์ ... ของบางคน ที่เอาธรรมเอาความดี ไปชักชวนคนดี มาเป็นเครื่องมือ เพื่อเข้าถึงประโยชน์ฯ

รู้เรื่อง ที่ประชาชนสาธารณะจำนวนมากจะอันตรายรุนแรง ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อาจกระทบรุนแรงกับประเทศชาติ ... แต่กลับไม่นำพาใส่ใจ อ้างหน้าตาเฉยว่าไม่ใช่หน้าที่ของสื่อมวลชน ฯ - แบบนี้หรือคือ สื่อเอาธรรมนำหน้ากล้าเสนอความจริง ... หลายคนที่แยกตัวออกไป คงรู้จริงว่า "ดีแต่พูด ว่าดีมีธรรม แต่ไม่มีจริง เป็นแค่คำโฆษณาชวนเชื่อ ที่หลอกคนดีๆ กันไปวันๆ"

จริยธรรม ความดี ที่พร่ำพูด โดยคนบนเวที นั้น พูดเหมือนแม่ชีแก้กรรม มั้ย อ้างกรรมอ้างธรรมอ้างความดี - สร้างตัวตนสร้างอิทธิพล จนใหญ่โต คับบ้านคับเมือง เห็นต่างไม่ได้ แกนนำ ฉลาดรู้ดีในทุกเรื่อง คนเห็นต่างแกนนำ คือทุรชน คนทรยศ ไม่รักชาติบ้านเมือง ไม่รักแผ่นดิน ... ไม่ต้องไปฟังความเห็นต่างที่อ้างว่ามีมาจากความคิดแสวงหาประโยชน์ เป็นอีแอบร้องหาประโยชน์ มีการจัดจ้างมา ทำลายธรรมทำลายความดี ที่กำลังดำเนินการกันอยู่ ...

เหิมเกริมโยนหินถามทาง สร้างตัวตนสร้างอิทธิพลพิเศษ จะเข้าสู่อำนาจด้วยวิธีพิเศษ โดยอ้างธรรมความดี และความรักหวงแหนแผ่นดิน "ปราบดาภิเษก" แล้วใครล่ะที่จะขึ้นเถลิงอำนาจ ... ไหนล่ะที่บอกว่าไม่แสวงหาประโยชน์โภชผล

โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรฯ กล่าวว่า อย่างที่กราบเรียนไปแล้วว่าบ้านเมืองตอนนี้ มีอยู่ 3 ก๊ก หนึ่ง ก๊กประชาธิปัตย์ มีอภิสิทธิ์ จรกา และทหารการเมือง ทหารพาณิชย์ สองคือก๊กเพื่อไทย มีทักษิณเป็นผู้นำ และเสื้อแดง สองก๊กนี้กำลังช่วงชิงกันเพื่อเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ประวัติศาสตร์สอนไว้ว่าเมื่อบ้านเมืองแตกป็น 3 ก๊ก จะต้องมีก๊กใดก๊กหนึ่งมีอำนาจเด็ดขาด และปราบดาภิเษกขึ้นมาขจัดก๊กทั้ง 2 ลงไป บ้านเมืองถึงสงบสุข

ตนเชื่อว่าทั้ง 2 ก๊ก ก๊กมาร์ค และก๊กเหลี่ยม ต้องพ่ายแพ้พลังของพี่น้องประชาชนแน่นอน และก๊กของพันธมิตรฯเป็นก๊กที่รักชาติ รักประชาธิปไตย ตามตำราก็เป็นก๊กของเล่าปี่ ขงเบ้ง เชื่อว่าก๊กนี้ต้องปราบดาภิเษกขึ้นมาอย่างแน่นอน

แต่เมื่อปราบดาภิเษกแล้ว เราต้องเอาธรรมนำหน้า ก็จะสามารถรักษาบ้านเมือง แม้ว่ามีบางคนกระเด็นกระดอนออกไปอย่าอาลัยอาวรณ์ เป็นเรื่องธรรมดา ( * ข้อท้วงติง * - เมื่อปราบดาภิเษก แล้วใครล่ะที่จะขึ้น “เถลิงอำนาจ” ถ้าไม่ใช่แกนนำ เพราะอีกครั้งถัดมา ยังย้ำอีกว่า “ในโบราณนั้น คนที่เป็นแกนนำผู้คน สถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์” ทำไมต้องพูดเวียนวน ให้ผู้คนคล้อยตามฯ)

"ขอให้กำลังใจว่าวันเวลาของการต่อสู้ และเปลี่ยนแปลงเข้ามาใกล้ทุกขณะ พี่น้องอาจจะมองไม่เห็นว่าน้ำที่ต้มอยู่นิ่งๆ เวลาเดือดฝากาอาจเปิดออกอย่างไม่ทันรู้ตัวก็ได้ เชื่อมั่นว่าพลังที่ถูกต้องดีงามจะนำพาบ้านเมืองไปสู่การเปลี่ยนแปลง พลังเก่าที่ล้าหลังต้องถูกพลังของพี่น้องประชาชนบดขยี้ทำลายอย่างแน่นอน จงเชื่อมั่นพลังอันดีงามของเรา ขอให้กำลังใจว่าถ้าหากมีการเลือกตั้งก็ต้องปรับกระบวนท่าในการรณรงค์โหวตโน แต่ถ้าไม่มีเลือกตั้งก็พร้อมปรับกระบวนไปสู่การเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง ในทางสร้างสรรค์และก้าวหน้า ทั้งหมดขึ้นอยู่ที่ฟ้าดินลิขิต และเชื่อว่าฟ้ามีตา สวรรค์มีใจ บ้านเมืองต้องเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน" นายประพันธ์ กล่าวปิดท้าย

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000052628

"คน พธม. คือ คนที่อุทิศตนเพื่อประโยชน์แห่งสาธาณะ ไม่ละเว้นวางเฉยกับเรื่องความทุกข์เดือดร้อนของผู้คนประชาชน มีจิตอาสา เสียสละ ไม่ต้องการผลประโยชน์ ความสุขคือการเห็นสังคมประเทศชาติดีขึ้น" - จริงแบบที่คนเวที ประกาศปาวๆ ทุกครึ่ง ชม. จริงหรือ ถ้าใช่ ทำไมจึงมาก่นด่า แบบไม่มีสติ คิดหรือว่า จะมีคนเสียสติบ้าวิปริตที่ไหน กล้าทะเลาะกับสื่อแบบ ASTV ถ้าเค้าไม่มีเหตุทุกข์เดือดร้อนใจที่ต้องการความเป็นธรรม ความถูกต้อง เพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายที่เผชิญหน้าอยู่ฯ

การเรียกร้องขอให้ทำตามที่ประกาศตัวไว้ กลายเป็นคนเสียจริต ถูกจัดจ้างมา ใช้ธรรมข้อไหนมอง หรือ วางอุเบกขากับความเดือดร้อนของผู้คนเสียสิ้นแล้วฯ

อิปัทปัจจยตา – สรรพสิ่งเกิดตั้งอยู่ดับไป ย่อมมีเหตุมีปัจจัย และตามพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า "เสียสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เสียสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต เสียสละชีวิตเพื่อรักษาธรรม"

การแสวงหา และรักษาธรรม

บทความนี้ จึงต้องถูกเขียนขึ้น

12 พ.ค. 2554

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

เลวซ้ำซาก ... เตรียมนับถอยหลัง หายนะ มาบตาพุด!

อ้างว่า ลงทุนหลายพันหลายหมื่นล้าน แต่มักง่ายประมาท ขาดความรับผิดชอบ พร้อมดันทุรังโครงการเสี่ยง - ขบวนการยุติธรรมล่าช้า ... อย่าคิดว่า ! เรื่องจะจบ เพราะไม่มีม๊อบ!

อุตฯเร่งสกัดมลพิษในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด หลังสำรวจพบ36 โรงงานเข้าข่ายใช้วัตถุดิบที่เป็นสารอินทรีย์ระเหยเกินมาตรฐาน เล็งร่างประกาศควบคุม ขณะที่เครือปตท.โอดหยุดกิจการ 2 ปี เสียหายยับกว่า 5,000 ล้าน

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 มกราคมนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)จะเสนอร่างประกาศควบคุมสารอินทรีย์ระเหย VOCs จากอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมให้รมว.อุตสาหกรรมลงนาม ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ โดยที่ผ่านมาพบว่าสารVOCs ที่ประกอบด้วยเบนซีน ,1-3 บิวทาไดอีน และ1-2 ไดโคลโรอีเทน ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพด มีการปล่อยออกมาเกินค่ามาตรการบางช่วงเวลา และจากการสำรวจพบว่ามี 36 โรงงานในมาบตาพุดที่เข้าข่ายใช้วัตถุดิบและการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสารดัง กล่าว คาดภายในสัปดาห์หน้าจะมีการหารือกันเพื่อหาแนวทางควบคุมต่อไป

ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะนำมาใช้เป็นระเบียบ และเกณฑ์ในการไปตรวจโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ หากโรงงานใดมีสารดังกล่าวรั่วซึมมากกว่ามาตรฐานที่กำหนด จะต้องทำการซ่อมบำรุง ภายในระยะเวลาที่กำหนด และหากยังไม่ดำเนินการตามกรมโรงงานฯ ก็มีอำนาจที่จะใช้พ.ร.บ.กรมโรงงานมาตรา 37 และ 39 ในการสั่งหยุดกิจการชั่วคราว

ขณะที่ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 21มกราคมที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของโครงการที่จัดอยู่ในประเภทกิจการรุนแรง 2 แห่ง ได้แก่โครงการของ บริษัทเก็คโค่ - วัน และ บริษัททีโอซี ไกลคอล โรงงานทั้ง 2 อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการทำตามมาตรา 67 วรรค 2 โดยโรงไฟฟ้าเก็คโค่ - วัน เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีกำลังการผลิตเกิน 100 เมกกะวัตต์ ยังมีความกังวลเรื่องการปล่อยน้ำลงสู่ทะเล ขณะที่โรงงานทีโอซี ไกลคอล ซึ่งเป็นโรงงานปิโตรเคมีขั้นกลาง เป็นห่วงเรื่องการปล่อยมลพิษออกสู่อากาศ

ด้านนายวีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โรงงานเอทธิลีนไกลคอล ส่วนขยาย ของบริษัทได้ลงทุนไปราว 1,500 ล้านบาท กำลังผลิต 100,000 ตันต่อปี และก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปลายปี 2551 แต่โดนระงับกิจการ อย่างไรก็ดีขณะนี้ได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่จากการหยุดดำเนินการนานกว่า 2 ปี ทำให้สูญเสียรายได้แล้วกว่า 5,000 ล้านบาท

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

กรรมการองค์การอิสระ ด้านสิ่งแวดล้อม-สุขภาพ จะทำอะไร เพื่อประชาชน

"ผู้คนประชาชน จะหวังอะไรได้ จากผู้คนเหล่านี้ ขนาดตัวแทนประชาชน ยังไม่ขยับทำอะไร ให้เกิดผล ..." - กรรมการ จะชั่วคราวหรือถาวร คนไหนที่จะทำอะไรเพื่อผู้คนประชาชน หรือแค่คนที่กลุ่มทุนอุตสาหกรรม ค้ำจุน ไม่ต่างกับ สื่อมวลชนไทยสายสิ่งแวดล้อมหรือสมาคม-เครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นแต่การสร้างภาพ ให้มัวเมากับสีแสงกระดาษ สีเขียว ไม่ได้ทำอะไร ให้บังเกิดผล เป็นรูปธรรม แต่กลับสร้างความรู้สึกให้สังคมว่า การห่วงใยสิ่งแวดล้อม กำลังทำร้ายทำลาย สภาวะเศรษฐกิจ ของชาติ

เมื่อประชาชน ขาดที่พึ่ง การประท้วงจากผู้คนที่ได้รับผลกระทบ ไม่สามารถทำให้เกิดผลอะไรได้ มีแต่คนแสแสร้ง ว่ารักว่าห่วง สุดท้าย ... อ้างว่า ทำอะไรไม่ได้แล้ว สู้มาถึงจุดสุดท้ายแล้ว แบบที่ผ่านที่เป็น! จากผู้ประกาศตัวว่า ข้าคือ ตัวแทนประชาชน ...


เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ที่โรงแรมมิราเคิล นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติในคณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นองค์การอิสระ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รายชื่อคณะกรรมการบริหารองค์การอิสระ (เฉพาะกาล) ตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วโดยมีตัวแทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพและสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพผ่านคุณสมบัติ และแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มมีผู้แทนกลุ่มละ 2 คนรวม 12 คน นายเดชรัตน์ กล่าวว่า
สำหรับคณะกรรมการองค์การอิสระทั้ง 12 คน มีดังนี้

องค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
อันดับที่ 2 นายเริงชัย ตันสกุล สมาคมรักษ์ทะเลไทย
องค์การเอกชนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 ว่าที่ ร.ต. สุรพล ดวงแข มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
อันดับ ที่ 2 นายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ
องค์การเอกชนด้านสุขภาพ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นายศุภกิจ นันทะวรการ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
อันดับที่ 2 นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ มูลนิธิสุขภาพไทย
สถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ตัวแทนจากผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อันดับที่ 2 นายถนอมศักดิ์ บุญภักดี มหาวิทยาลัยบูรพา
สถาบันอุดมศึกษาด้านทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นายสัญชัย สูติพันธ์วิหาร มหาวิทยาลัยมหิดล
อันดับที่ 2 ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ มานะเศวต จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันอุดมศึกษาด้านสุขภาพ ผู้ได้รับคัดเลือก
อันดับที่ 1 นพ.พิทยา จารุพูลผล มหาวิทยาลัยมหิดล
อันดับที่ 2 ดร.ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์ จากวิทยาลัยนคร ราชสีมา

โดยจะมีการประชุมในวันที่ 30 เม.ย. เพื่อคัดเลือกประธานคณะกรรมการฯ และกำหนดกรอบการทำงานอีกครั้งหนึ่ง ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม "หลังจากนี้องค์การอิสระ สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาโครงการรุนแรงตามมาตรา 67 ออกมาให้ได้ เนื่องจากในช่วง 2 เดือนข้างหน้านี้มีโครงการมาบตาพุดที่เป็นงานเร่งด่วนที่รออยู่" นายเดชรัตน์ ระบุ.

1. การจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติว่า “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว”

ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาและผู้แทนองค์การเอกชนทั่วประเทศ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ ได้มาประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 และคัดเลือกกันเองเป็นคณะกรรมการองค์การอิสระจำนวน 13 คน

สำหรับประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2553 เป็นประกาศการจัดตั้งองค์การอิสระ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของหน่วยงานรัฐในส่วนต่างๆ มิใช่การแต่งตั้งคณะกรรมการองค์การอิสระแต่อย่างใด

2. ทำไมจึงเป็นคณะกรรมการชุดเฉพาะกาลเท่านั้น?
ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ต้องจัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ โดยคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองฯ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. .... และเสนอให้กับรัฐบาลแล้ว

แต่กระบวนการพิจารณาของรัฐบาลและรัฐสภา อาจใช้ระยะเวลายาวนาน ในขณะที่โครงการต่างๆ ทั่วประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ก็เดินหน้าโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ครบถ้วนตามมาตรา 67 วรรคสอง รวมทั้งโครงการต่างๆ ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งต้องหยุดโครงการไว้ก่อนตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง

จึงมีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) โดยมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานการให้ความเห็นขององค์การอิสระฯ พ.ศ.2553 รองรับกระบวนการคัดเลือกและการดำเนินงานให้ความเห็นที่เป็นอิสระ

เมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับใช้ จะมีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามพระราชบัญญัติต่อไป

3. สังคมไทยจะได้ประโยชน์อะไร จากการมีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 กำหนดให้มีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อมุ่งคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของชุมชนและประชาชน ในการมีส่วนร่วมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

โดยเฉพาะการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชน ซึ่งเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชนที่ยืดเยื้อยาวนานของสังคมไทยและยังคงส่งผลกระทบทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความขัดแย้งในสังคมอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่โครงการที่เป็นปัญหามาหลายสิบปี เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง, เขื่อนปากมูน จ.อุบลราชธานี, นิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน, เหมืองที่ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ฯลฯ มาจนถึงโครงการต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น โรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้าที่จะนะ จ.สงขลา, โรงเหล็กที่ จ.ประจวบฯ, การขยายสนามบินสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ, เหมืองแร่โพแทชใน 6 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, หรือโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น

ทุกพื้นที่ในประเทศ อาจเกิดโครงการประเภทต่างๆ เหล่านี้ได้ในอนาคต ในขณะที่ระบบการปกป้องและคุ้มครองสิทธิชุมชน รวมทั้งระบบการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงเหล่านี้ ยังคงมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอีกหลายประการ ส่งผลให้หลายชุมชนคัดค้านโครงการลงทุนต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบได้ จนนำมาสู่ความไม่ไว้วางใจกันในสังคมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในกรณีโครงการพัฒนาต่างๆ

สังคมไทยจึงจำเป็นต้องมีกลไกเพิ่มขึ้นในกระบวนการตัดสินใจของรัฐ โดยเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความเป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐและผลประโยชน์ของเอกชน สำหรับให้ความเห็นประกอบในโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง ทั้งความจำเป็นของโครงการ, การป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ, และทางเลือกทางออกในการตัดสินใจโครงการบนฐานผลประโยชน์ส่วนรวม ก่อนที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบของรัฐจะตัดสินใจอนุญาตหรือไม่อนุญาตโครงการ

ในขณะที่สำนักงานองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ราชการ ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล และกองทุนอื่นๆ ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

4. แนวทางการดำเนินงานขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)

การให้ความเห็นขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) ต่อโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ต้องมุ่งสร้างการพัฒนาอย่างฉลาดและมีเหตุผล ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมและความยั่งยืนของสังคม เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิชุมชน รวมทั้งเสริมสร้างความไว้วางใจกันในสังคม

ดังนั้นองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) จึงต้องใช้ข้อมูลหลักฐานทางวิชาการอย่างรอบด้าน และเปิดกว้างรับความคิดเห็นและข้อเสนอจากทุกๆ ภาคส่วนในสังคม รวมทั้งมุมมองความคิดและภูมิปัญญาของชุมชนในพื้นที่โครงการ

แนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ความเห็นต่อโครงการ จึงเน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม การประสานงานกับภาคีเครือข่ายนักวิชาการและประชาสังคมทั่วประเทศ และโดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับองค์การเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาในด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ

5. ประเด็นในการให้ความเห็นต่อโครงการ
การให้ความเห็นขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้น จะไม่จำกัดเฉพาะการให้ความเห็นต่อรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นอื่นๆ ของโครงการ เช่น ความจำเป็นของการมีโครงการ การป้องกันผลกระทบทางลบและส่งเสริมผลประโยชน์ในทางบวก และทางเลือกในการดำเนินโครงการด้วย เพื่อสะท้อนความคิดและเหตุผลของกลุ่มต่างๆ ในสังคม และเสนอทางเลือกหรือทางออกในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการนั้นๆ ด้วย

6. ความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
ขณะนี้ คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาแนวทาง กระบวนการ หลักเกณฑ์ และกลไกในการทำงานขององค์การอิสระฯ โดยเฉพาะการพิจารณาให้ความเห็นต่อโครงการต่างๆ ที่อาจส่งกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชน รวมทั้งดำเนินการจัดตั้งสำนักงาน และการวางหลักเกณฑ์ กำหนดคุณสมบัติ และการคัดเลือกพนักงานประจำหลายตำแหน่งเพื่อเข้ามาทำงานในสำนักงาน

7. ประชาชน จะเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล) ได้อย่างไรบ้าง องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพฯ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ในกระบวนการให้ความเห็นต่อโครงการ จึงมีหลายช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ดังนี้

1) ท่านสามารถส่งเรื่อง หรือข้อมูล หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการที่อาจกระทบรุนแรงตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ให้กับองค์การอิสระฯ เพื่อใช้พิจารณาในการให้ความเห็นต่อโครงการ

2) ท่านสามารถเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นในเวทีต่างๆ ที่องค์การอิสระฯ จะจัดขึ้นในจังหวัดต่างๆ ตามแต่ละกรณีโครงการ หรือเวทีการรับฟังความคิดเห็นในประเด็นสำคัญหรือประเด็นภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับการให้ความเห็นขององค์การอิสระฯ

3) ท่านสามารถพูดคุยและให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ขององค์การอิสระฯ ซึ่งเข้าร่วมสังเกตการณ์เวทีต่างๆ ที่ทางโครงการจะจัดขึ้น ทั้งเวทีการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบ (Public Scoping), เวทีการทบทวนร่างรายงานฯ (Public Review), หรือเวทีอื่นๆ

4) ท่านอาจพิจารณาส่งข้อมูลให้องค์การอิสระฯ รวบรวมในทำเนียบข้อมูลบุคคลและองค์กรที่มีความรู้ ประสบการณ์ หรือภูมิปัญญาในด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพ เพื่อใช้ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือการทำงานในรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองคุณสมบัติ ซึ่งองค์การอิสระฯ กำลังพิจารณา และจะประกาศเผยแพร่สาธารณะต่อไป

8. การติดต่อองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานขององค์กรอิสระด้าน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นการชั่วคราว
โดยท่านสามารถติดต่อได้ที่ สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่อยู่ 49 พระราม 6
ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 0-2298-5639, 0-2278-8400-19 ต่อ 1752, 1561
โทรสาร 0-2298-5650
Email: bajaree@deqp.go.th

ตัวแทนประชาชน ... ภาคประชาชน - บ่วงแหที่แก้ไม่หลุด ของคนที่ได้รับผลกระทบเดือดร้อน


เมื่อหลายวันก่อน กรอบข่าว หน้า 5 ของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ - สอดแทรกความเห็น ของความเป็นตัวแทนภาคประชาชน ที่อ้างถึงความสนใจใส่ใจปัญหาของมาบตาพุด อ้างว่าเป็น ตัวแทนของผู้คนประชาชน ที่มาบตาพุด โดยมีลักษณะข่าวแบบ " ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้" ไม่ได้ให้การเชื่อมั่นอย่างใดกับสื่อมวลชน และคนอาชีพสื่อ ที่มีบทบาทไม่ต่างกับนักการเมือง นายทุน ที่จ้องแต่จะแสวงหาผลประโยชน์ มีหลายๆ คน บอกว่า ยังดีที่มีสื่อน้ำดี อยู่ ทั้งที่จริงๆแล้ว ไม่มี ... ปัญหาการระงับโครงการในมาบตาพุด เป็นตัวอย่าง ของบ่วงแหที่แก้ไม่หลุด โดยอ้างว่า มีภาคประชาชนเข้าร่วม และการถือกำเนิดของ คกก. 4 ฝ่าย ก็มาจากข้อเรียกร้อง ของภาคประชาชนเอง

- ภาคประชาชน ของ คกก.4 ฝ่าย กรรมการประกอบด้วย นายชูชัย ศุภวงศ์ นางเรณู เวชรัชต์พิมล นายสุทธิ อัชฌาศัย นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ

11 ก.ย. 53 - ในการประชุม คกก. 4 ฝ่าย - ตามที่ เลขาฯ แจ้งให้ทราบว่า ... มีข้อร้องเรียน เรื่องโรงงานเสี่ยง ของ ปตท. ไม่ตอกเสาเข็ม อาจทรุดพัง ระเบิดลุกลาม - กลับไม่มีตัวแทนภาคประชาชน ออกความเห็นเรื่องนี้ แต่อย่างไร ในเมื่อไม่มีตัวแทนภาคประชาชน ใครคนไหนสนใจ / ปตท. ชี้แจง ว่าทุกอย่างแข็งแรงดี ดินแข็งมากจึงไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม (ทั้งๆที่ เป็น บริเวณน้ำท่วมขังถ้าฝนตกหนัก) ทุกอย่างจบตรงนั้น ไม่จำเป็นต้องทบทวนอีก ... บ่วงแห ที่ประชาชนคนมาบตาพุด แกะไม่ออก ทั้งๆที่ 4 คนนี้ ไม่ใช่คนที่จะต้องรับผลกระทบใดๆ ถ้าเกิดเหตุร้ายขึ้น ที่มาบตาพุด - เกิดเหตุแล้ว ทุกคนจะพูดว่า ... เหตุสุดวิสัย ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิด - เรื่องใหญ่ๆ ยังไม่สนใจ จะยี่หระอะไร กับมลพิษที่กะปริดกะปรอย หรือที่แอบปล่อยกัน แบบที่เคย


หรือภาพด้านบนนี้ กำลังฟ้องอะไร ?! ไม่ใช่ปริศนาอะไรใหม่ อ้างว่ามีภารกิจภาพรวม ที่ต้องดูแล แต่เรื่องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายของผู้คนประชาชน จำนวนมาก ใย ผู้อ้างสิทธิ์ ฐานะผู้แทนภาคประชาชน กลับไม่ใส่ใจกับปัญหา

นายกฯ เซ็นตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ปัญหามาบตาพุด มั่นใจหาข้อยุติเป็นธรรมทุกฝ่าย พร้อมเสนอ ครม.ของบกลางปี 2 พันล้านบาท ใช้เยียวยาประชาชน ด้าน ส.อ.ท.จี้ขอความชัดเจนเรื่องกิจการที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชน

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วม 4 ฝ่าย เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน คาดว่าจะมีการเรียกประชุมคณะกรรมการในเร็วๆ นี้ โดยคณะกรรมการจะจัดทำข้อยุติที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน เพื่อให้รัฐบาลจัดทำแผนปฏิบัติ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งปฏิบัติได้จริงและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ในเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง จ.ระยอง ตลอดจนจัดทำข้อยุติ เพื่อให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับ 76 โครงการ ที่ถูกระงับการดำเนินการ ให้เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน

"รัฐบาลต้องการแสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการแก้ปัญหามลพิษพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และลดการต่อต้านของประชาชนในพื้นที่ ให้ภาคอุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน" นายกอร์ปศักดิ์กล่าว

คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมีชื่อทางการว่า “คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตาม มาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ประกอบด้วยตัวแทน 4 ฝ่าย คือ ตัวแทนภาคประชาชน 4 คน ตัวแทนภาครัฐ 4 คน ตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และตัวแทนภาคเอกชน 4 คน

นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเพื่อรับฟังข้อเสนอของประชาชน ภายใน 10 วัน ตนในฐานะประธานคณะกรรมการอีสเทิร์นซีบอร์ด จะเสนอให้ ครม.อนุมัติงบกลางปีรายจ่ายฉุกเฉินปี 2552 หรืองบกลางปี 2553 จำนวน 2,000 ล้านบาท เพื่อนำไปเยียวยาประชาชนในพื้นที่ เช่น การเพิ่มจำนวนเตียงในโรงพยาบาลในพื้นที่อีก 200 เตียง การจัดรถรับส่งประชาชนไปโรงพยาบาล

ด้านนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนต้องการให้คณะกรรมการ 4 ฝ่าย พิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดความชัดเจนของกิจการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงให้ชัดเจน เพราะถ้ากำหนดที่ชัดเจนจะทำให้แยกประเภทโครงการที่ถูกระงับ 76 โครงการ ได้ว่าโครงการใดต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพ (เอชไอเอ)

"ส.อ.ท.ต้องการให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายทุกคนมีเหตุผลและยอมรับความเห็นซึ่งกันและกัน โดยนักวิชาการที่เข้าร่วมประชุมต้องเป็นกลางและมีความเข้าใจเรื่องอุตสาหกรรมในมาบตาพุด ถ้าทุกฝ่ายคุยกันด้วยเหตุผล เชื่อว่าจะหาทางออกได้ ภาคเอกชนเชื่อว่า นายอานันท์ ประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย จะมีความเป็นกลางและแก้ปัญหาการลงทุนในมาบตาพุดได้" นายสันติกล่าว

**** องค์ประกอบ ****

ภาคประชาชน กรรมการประกอบด้วย นายชูชัย ศุภวงศ์ นางเรณู เวชรัชต์พิมล นายสุทธิ อัชฌาศัย นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ

ภาครัฐ กรรมการประกอบด้วย นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (นายโกศล ใจรังษี)

ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการประกอบด้วย นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด นายธงชัย พรรณสวัสดิ์ นายสุทิน อยู่สุข นางสาวสมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง นายสมรัตน์ ยินดีพิธ

ภาคเอกชนผู้ประกอบการ กรรมการประกอบด้วย นายชายน้อย เผื่อนโกสุม นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล นายมหาบีร์ โกเดอร์ นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส

*** กรรมการทั้งหมด ไม่มีคนมาบตาพุด ขบวนการรับฟังประชาพิจารณ์ ที่ตระเวณไปจัด ทั่วประเทศ ไม่เคยมาจัดที่มาบตาพุด - สุดท้าย บอกว่า คกก. 4 ฝ่าย จะดูในกรอบทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะโรงงานหรือกิจกรรม ที่่มาบตาพุด ***

คนมาบตาพุด คิดว่า ... อะไรๆ จะดีขึ้น ในส่วนของสภาวะแวดล้อม กับการเสียโอกาส ในการทำมาหากิน แต่สุดท้ายไม่ใช่ ปัญหาที่เคยหยุดไป มีกลับยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จากการเร่งรัดที่จะเปฺดใช้โรงงานหลายโรง วันนี้ ... ไม่มีใครสนใจใส่ใจ ปัญหา ที่มาบตาพุดอีก ประโคมข่าว กันมาตลอดว่า การระงับโครงการในมาบตาพุด พื้นที่เศรษฐกิจชาติ ทำให้มีปัญหาใหญ่หลวงกับเศรษฐกิจ วันนี้ ... แม้ควันดำลอยต่ำจนเป็นหมอกพร่ามัว ก้อไม่มีใครสนใจ

ล่าสุด ในการประชุม คกก. 4 ฝ่าย - ตามที่ เลขาฯ แจ้งให้ทราบว่า ... มีข้อร้องเรียน เรื่องโรงงานเสี่ยง ของ ปตท. ไม่ตอกเสาเข็ม อาจทรุดพัง ระเบิดลุกลาม - กลับไม่มีตัวแทนภาคประชาชน ออกความเห็นเรื่องนี้ แต่อย่างไร ในเมื่อไม่มีตัวแทนภาคประชาชน ใครคนไหนสนใจ / ปตท. ชี้แจง ว่าทุกอย่างแข็งแรงดี ดินแข็งมากจึงไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม (ทั้งๆที่ เป็น บริเวณน้ำท่วมขังถ้าฝนตกหนัก) ทุกอย่างจบตรงนั้น ไม่จำเป็นต้องทบทวนอีก ... บ่วงแห ที่ประชาชนคนมาบตาพุด แกะไม่ออก ทั้งๆที่ 4 คนนี้ ไม่ใช่คนรับผลกระทบใด ถ้าเกิดเหตุร้ายขึ้น

(14 ก.ย.) ที่บ้านพิษณุโลก นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เพื่อแก้ปัญหาการปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง รัฐธรรมนูญ 2550 ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ โดยมีการเชิญตัวแทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เข้าชี้แจงกรณีประกาศ 11 ประเภทกิจการรุนแรงของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ว่า สิ่งที่ตนอยากย้ำคือเราทำหน้าที่ของเราภายใต้รัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง และทำเสร็จแล้ว โดยเสนอประเภทกิจการรุนแรง 18 ประเภทที่เข้าข่ายโครงการรุนแรงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง รัฐบาลมีสิทธิ์ และมีอำนาจที่จะพิจารณา โดยผ่านคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ และเขาก็ตัดลงมาเหลือ 11 ประเภทกิจการรุนแรง และใน 11 ประเภท ก็มีการแก้ไขบางประการ ซึ่งในแง่หนึ่งรัฐบาลระบุว่า มีความเข้มข้นขึ้น แต่ภาคประชาชนบอกว่าเข้มข้นน้อยลง ซึ่งเราเคารพสิทธิ และอำนาจของรัฐบาลที่จะตัดสิน

นายอานันท์ กล่าวอีกว่า ตนเรียกประชุมในวันนี้ เพื่อรับฟังว่าทางรัฐบาลมีข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือใช้ตรรกะอย่างไรที่พิจารณาแล้วตัดออกไป 7 โครงการ โดยรัฐบาลได้ส่ง นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และตัวแทนจากหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะกระทรวงทรัพยากรฯ มาชี้แจงให้ทราบถึงผลการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ที่พิจารณาให้เหลือ 11 ประเภทโครงการ แต่เนื่องจากในครั้งนี้เรามีเวลาไม่เพียงพอที่จะลงในรายละเอียดในแต่ละเรื่อง ตนจึงขอเอกสารมติรายงานการประชุมของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ซึ่งให้มาแล้ว 2 ชุด แต่ตนดูแล้วก็ยังไม่มีรายละเอียดอะไรมาก ทั้งนี้ ตนได้ขอเทปบันทึกการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ในวันที่มีมติใน 11 ประเภทโครงการรุนแรงด้วย เพื่อให้รู้บรรยากาศระหว่างการประชุม ซึ่งเทปดังกล่าวไม่สามารถเปิดเผยให้คนอื่นฟังได้นอกจากตนคนเดียว เพราะจะเกิดปัญหาทางกฎหมาย

นายอานันท์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ คณะทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ แต่ละชุด ไม่ว่าจะเป็นในด้านโครงการรุนแรง การลดมลพิษ การวางผังเมือง และตัวแทนภาคประชาชน จะมีการพูดคุยกันนอกรอบ และร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาในลักษณะของคณะกรรมการติดตามการดำเนินการในเรื่องมาบตาพุด โดยนายกอร์ปศักดิ์ จะลงมากำกับเรื่องนี้โดยตรง และมีการรายงานผลในทุก 2 เดือน ส่วนในเรื่องของ 11 ประเภท หรือ 18 ประเภทโครงการรุนแรงนั้น จะไม่มีการเจรจา ไม่มีการต่อรอง และไม่มีอะไรจะต้องพูดกันต่อไป ถือว่าเราทำตามหน้าที่แล้ว โดยเราเสนอไป 18 โครงการ และยังยึดถือ 18 โครงการอยู่ ตามความคิดของรัฐบาลเขาออกมา 11 โครงการ ก็เป็นเรื่องของเขา แต่จากพื้นฐานของการมี 11 ประเภทจะดำเนินการอะไรก็เป็นเรื่องที่จะพูดคุยกันต่อไป โดยมีหลักยึดถือว่าทั้ง 2 ฝ่าย จะพูดคุยกันในทางสร้างสรรค์ อันจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน และชาวบ้านโดยตรง ถือเป็นความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการ 4 ฝ่าย และรัฐบาล.